Page 15 - การจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยโป่ง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงตอนบน ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง บ้านทุ่งดินดำ หมู 6 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4







                              1.6.4 ประชุมชี้แจงเกษตรกร ผู้น าชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อน าเสนอร่างแผนงาน
                       จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า และการปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อให้ทราบและเข้าใจการด าเนินงาน
                       ประโยชน์ที่จะได้รับ ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการด าเนินงานโครงการ ซึ่งหากชุมชน
                       มีข้อเสนอแนะให้ปรับแก้ไขร่าง ให้ท าความตกลงร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปการด าเนินงาน และปรับปรุง

                       แก้ไขแผนตามที่ตกลงร่วมกัน
                              1.6.5 ประเมินราคางานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า และการปรับปรุงบ ารุงดิน จัดท ารายงาน
                       แผนการด าเนินงานเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาที่ดินของ
                       ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต และเสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองแผนงาน

                              1.6.6 ก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ าในลักษณะของงานด าเนินการเอง โดยมีกิจกรรมและ
                       ขั้นตอนการด าเนินงานดังนี้
                                     1) คันดินเบนน้ า เป็นการก่อสร้างคันดินเบนน้ าแบบลดระดับ ก าหนดผังวางแนวการ
                       ก่อสร้างตามแบบงานจัดระบบฯ ที่ออกแบบไว้ ปักหมุดวัดระยะวางแนวด้วยกล้องส่องระดับ โดยการ

                       ส่องลดระดับ 3  เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้คันดินสามารถระบายน้ าออกจากพื้นที่ได้  การก่อสร้างใช้
                       แรงงานคนขุดเป็นรูปสามเหลี่ยมในลักษณะเป็นรางระบายน้ า  ให้ได้ปริมาตรดินขุด 0.476 ลูกบาศก์
                       เมตรต่อเมตร หรือ 476 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลเมตร

                                     2) คันคูรับน้ าขอบเขา เป็นการก่อสร้างคันคูรับน้ าขอบเขาแบบระดับ ก าหนดผังวาง
                       แนวการก่อสร้างตามแบบงานจัดระบบฯ ที่ออกแบบไว้ ปักหมุดวัดระยะวางแนวด้วยกล้องส่องระดับ
                       ให้คันดินอยู่ในระดับเดียวกัน  การก่อสร้างใช้แรงงานคนขุดเป็นรูปสามเหลี่ยม ระยะห่างของคันคูรับ
                       น้ าขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ เพื่อลดความยาวความลาดเทของพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงออกเป็น
                       ช่วง ๆ และเพื่อกักเก็บน้ า ท าให้น้ าบางส่วนซึมลงดิน ช่วยลดปริมาณ ความเร็ว และความแรงของน้ า

                       ไหลบ่า ลดการกัดเซาะหน้าดิน และการชะล้างพังทลายของดิน นอกจากนี้ยังใช้เป็นทางล าเลียงใน
                       พื้นที่ได้ การขุดคิดปริมาตรดินขุด 0.30 ลูกบาศก์เมตรต่อเมตร หรือ 300  ลูกบาศก์เมตรต่อ
                       กิโลเมตร

                                     3) ทางล าเลียงในไร่นา ก าหนดผังวางแนวการก่อสร้างทางล าเลียงในไร่นาตามแบบ
                       งานจัดระบบฯ ที่ออกแบบไว้ ปักหมุดวัดระยะวางแนวทางล าเลียงด้วยกล้องส่องระดับ การก่อสร้างใช้
                       รถขุดถมดินพร้อมบดอัดเป็นรูปทางล าเลียงให้มีขนาดกว้าง 4 เมตร มีร่องระบายน้ าด้านข้างๆ ละ 1
                       เมตร คิดปริมาตรดินขุด 1 ลูกบาศก์เมตรต่อเมตร หรือ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลเมตร
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20