Page 67 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 67

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       53







                             ถึงแม้การผลิตทุเรียนแบบเคมีจะช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของทุเรียนได้ แต่การใช้สารเคมี
                       ดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม  โดยผู้ผลิตบางรายเจ็บป่วย บาง
                       รายเสียชีวิต  ดังนั้น ปัจจุบันเกษตรกรจึงได้เริ่มหันมาผลิตทุเรียนแบบอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยต่อ
                       สุขภาพและเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


                       5.2 ข้อเสนอแนะ
                              จากผลการด่าเนินงานใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อ
                       พัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ต่าบลแหลมงอบ จังหวัดตราด  ซึ่งผลการด่าเนินงานมานั้น  น่ามาสู่

                       ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการสร้างความเข้าใจ และพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์
                              5.2.1  รัฐบาลควรให้การสนับสนุน ในการด่าเนินงานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ โดยเผยแพร่
                       แนวคิดแนวคิดของการจัดการดินที่เหมาะสมในระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีอาหารที่
                       ความปลอดภัยจากสารพิษ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่และภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบ

                       ต่อกันมาให้เกษตรกรเห็นว่าการผลิตเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวและสามารถปฏิบัติได้จริง
                              5.2.2 สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาหมอดินอาสา หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน ให้เรียนรู้เกี่ยวกับ
                       การใช้เทคโนโลยีกรมพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในการท่าเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

                       การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์สู่ชุมชนท้องถิ่นของตน
                              5.2.3   ส่งเสริม และพัฒนาหมอดินอาสา หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน ในการเรียนรู้เรื่องต้นทุนการ
                       ผลิต รายรับ รายจ่าย และผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร เพื่อสร้างความเข้าใจในการลดต้นทุนการ
                       ผลิตจากการไม่ใช้ปุ๋ยเคมี


                       5.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
                              ผลที่ได้จากการด่าเนินงานใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อ
                       พัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ต่าบลแหลมงอบ จังหวัดตราด อันจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรทั้ง

                       ทางตรงและทางอ้อมซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
                              5.3.1 ฟื้นฟูและปรับปรุงสภาพดินเสื่อมโทรมให้อุดมสมบูรณ์ ท่าให้ห่วงโซ่อาหารที่ถูกท่าลาย
                       กลับฟื้นคืนดีขึ้น
                              5.3.2  ลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งผลให้เกษตรกรมี

                       ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเพิ่มมากขึ้น
                              5.3.3 ผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ทั้งทางตรงและทางอ้อม
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72