Page 23 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       14








                       2.5  สภาพการใช้ที่ดิน
                              ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินจังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ จากกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
                       กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน (2558) วิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาล้าเชิงไกร
                       ประกอบด้วย สภาพการใช้ที่ดินต่างๆ ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 5 )

                                1) พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 1,591,941 ไร่ หรือร้อยละ 86.12 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                       ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
                                  1.1)  เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม มีเนื้อที่ 543 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                  1.2)  นาข้าว มีเนื้อที่ 729,025 ไร่ หรือร้อยละ 39.44 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                  1.3)  พืชไร่ มีเนื้อที่ 805,384 ไร่ หรือร้อยละ 43.57 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา พืชไร่ที่พบ
                       ได้แก่ มันส้าปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงานโรงงาน พริก พืชไร่ผสม ไร่ร้าง โดยพืชไร่ผสม
                       จะเป็นพืชไร่ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป มีพื้นที่ปลูกขนาดเล็กกว่า 10 ไร่ สลับกันไม่สามารถแยกขอบเขตได้
                                  1.4)  ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 36,027 ไร่ หรือร้อยละ 1.95 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ไม้ยืนต้น

                       ที่พบ ได้แก่ ยูคาลิปตัส ยางพารา สะเดา สัก ไม้ยืนต้นผสม ไผ่
                                  1.5)  ไม้ผล มีเนื้อที่ 6,096  ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ไม้ผลที่พบ

                       ได้แก่ มะม่วง ไม้ผลผสม มะขาม มะพร้าว
                                  1.6)  พืชสวน มีเนื้อที่ 503 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ได้แก่ พืชผัก
                       และไม้ดอกไม้ประดับ
                                  1.7)  ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 12,778 ไร่ หรือร้อยละ
                       0.69 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ได้แก่ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ และม้า โรงเรือนเลี้ยง

                       สัตว์ปีก และโรงเรือนเลี้ยงสุกร
                                  1.8)  สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้า มีเนื้อที่ 1,585 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                       ได้แก่ สถานที่เพาะเลี้ยงปลา
                                2) พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 39,283 ไร่ หรือร้อยละ 2.13 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา  ประกอบด้วย

                       ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู และป่าผลัดใบสมบูรณ์
                                3) พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 79,228 ไร่ หรือร้อยละ 4.28 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ได้แก่
                       ทุ่งหญ้า ไม้ละเมาะ พื้นที่ลุ่ม นาเกลือ บ่อลูกรัง บ่อทราย บ่อดิน พื้นที่ถม เหมืองเก่า บ่อขุดเก่า และที่ทิ้งขยะ

                                4) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 95,193 ไร่ หรือร้อยละ 5.15 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                       ประกอบด้วย หมู่บ้าน สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ ตัวเมืองและย่านการค้า โรงงานอุตสาหกรรม
                       ลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร หมู่บ้านจัดสรรร้าง ถนน และโรงงานอุตสาหกรรมร้าง
                                5) พื้นที่แหล่งน้้า มีเนื้อที่ 42,824 ไร่ หรือร้อยละ 2.32 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ได้แก่
                       หนอง ทะเลสาบ บึง อ่างเก็บน้้า แม่น้้าล้าคลอง บ่อน้้าในไร่นาและคลองชลประทาน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28