Page 3 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            i




                                                           บทคัดย่อ


                        ฐานข้อมูลด้านทรัพยากรดินของกรมพัฒนาที่ดินบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์

                  มีอยู่อย่างจํากัด ซึ่งไม่เพียงพอต่อการวางแผนการใช้ที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ํา ดังนั้น จึงทําการสํารวจจําแนกดิน
                  และจัดทําแผนที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า (ลุ่มน้ํายม) โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ร่วมกับข้อมูลที่ทันสมัยในการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ เพื่อใช้ในการวางแผนการสํารวจดิน และจัดทํา
                  แผนที่ดินที่มีขอบเขตหน่วยแผนที่ที่มีความละเอียด และสอดคล้องกับปัจจัยการกําเนิดดินมากขึ้น รวมทั้งหน่วย
                  แผนที่มีความถูกต้องเพิ่มมากขึ้น โดยศึกษาในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ําหลักแม่น้ํายม ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า (รหัส 0808)

                  ครอบคลุมพื้นที่ 515.98 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 2.15 ของพื้นที่ลุ่มน้ําหลักแม่น้ํายม)

                        จากผลการสํารวจและจําแนกดินในพื้นที่ พบว่า มีหน่วยแผนที่ทั้งหมด 50 หน่วย ประกอบด้วย
                  หน่วยจําแนกประเภทชุดดิน (16 หน่วยแผนที่) และหน่วยจําแนกประเภทดินคล้าย (32 หน่วยแผนที่) รวม 48
                  หน่วยแผนที่ มีเนื้อที่ 318,948 ไร่ (ร้อยละ 98.90 ของเนื้อที่ทั้งหมด) และพื้นที่เบ็ดเตล็ด 2 หน่วยแผนที่

                  เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพื้นที่ ธรณีสัณฐาน และลักษณะของดินบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า
                  พบว่า ลักษณะและสมบัติของดินมีความสัมพันธ์ตามปัจจัยการกําเนิดดิน โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ และ
                  วัตถุต้นกําเนิดดิน พบดินตื้นถึงชั้นหินผุบริเวณเทือกเขาหินภูเขาไฟ พวกแอนดีไซท์ และพวกแกรนิต ดินเหนียว
                  ลึกถึงลึกปานกลางถึงชั้นหินผุบริเวณภูเขาหินตะกอนเนื้อละเอียดพวกหินดินดาน บริเวณตะพักลําน้ําระดับสูง

                  เป็นดินลึกมาก ส่วนที่ราบบริเวณส่วนต่ําของตะพักลําน้ําเป็นดินเหนียวมีการระบายน้ําค่อนข้างเลว

                        จากการนําเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้และพัฒนางานด้านสํารวจจําแนกดิน
                  สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพในการสํารวจดิน โดยลดระยะเวลาของกระบวนการทํางาน แผนที่ดินมีความละเอียด
                  ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ํา
                  รวมถึงเป็นฐานข้อมูลการจัดทําเขตความเหมาะสมพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ที่นําไปสู่

                  การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช ลดต้นทุน และช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
   1   2   3   4   5   6   7   8