Page 160 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 160

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          129




                                (12) พื้นที่ศักยภาพที่ 12 (P12) เหมาะสมสําหรับปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล (มีข้อจํากัดรุนแรง)
                  ได้แก่ หน่วยแผนที่ Ml-lsk-glE, Ml-lsk-vglE, Tl-lsk-glE, Tl-lsk-vglE, Ty-glE และ Ws-clE เนื่องจากสภาพ
                  พื้นที่บริเวณนี้เป็นเนินเขา ไม่ค่อยเหมาะสมในการปลูกพืชเกือบทุกประเภท พืชที่ปลูกจะเสี่ยงต่อการกร่อน

                  รุนแรงมาก การใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าวจําเป็นต้องมีความระมัดระวัง และมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ํา
                  เป็นพิเศษ โดยการทําขั้นบันไดดิน (bench terrace) ทําคันคูรอบเขา (hill side ditch) ปลูกพืชเฉพาะหลุม
                  ร่วมกับการปลูกพืชคลุมดิน เป็นต้น (กองสํารวจและจําแนกดิน, 2543) โดยมีเนื้อที่ 36,311 ไร่ หรือร้อยละ
                  11.24 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                (13) พื้นที่สงวนไว้เป็นป่าธรรมชาติ (FA) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Ml-lsk-vglF, Ml-lsk-vglG, Tl-lsk-vglF,

                  Tl-lsk-vglG, Ws-clG และ Ws-vd-clF สภาพพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่สูงชันถึงสูงชันมาก ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช
                  ทั้งนี้เนื่องจากมีอัตราการกร่อนสูงมาก การจัดการและดูแลรักษาลําบาก ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนสําหรับการเพาะปลูก
                  พืชเศรษฐกิจ ดังนั้นควรสงวนพื้นที่ดังกล่าวไว้เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งกําเนิดต้นน้ําลําธาร สร้างความชุ่มชื้น
                  รวมถึงช่วยป้องกันการกัดเซาะ และพัดพาหน้าดิน โดยมีเนื้อที่ 180,523 ไร่ หรือร้อยละ 55.99 ของพื้นที่ทั้งหมด

                        3.4 การจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับใช้ประโยชน์ด้านปฐพีกลศาสตร์

                           จากผลการศึกษาและจําแนกความเหมาะสมของดินบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้าสําหรับกิจกรรมด้าน

                  ปฐพีกลศาสตร์ โดยลักษณะและสมบัติในแต่ละชั้นความลึกดินตามชั้นกําเนิดดินตัวหน่วยแผนที่นั้นๆ ถูกนํามาใช้เพื่อ
                  พิจารณาในการจําแนกความเหมาะสม ตามหลักเกณฑ์ของ สุวณี (2538) สรุปได้ดังนี้ (ตารางที่ 14)

                             1) ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นแหล่งหน้าดิน

                                (1) ดินเหมาะสมดี โดยไม่มีข้อจํากัด (1) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Pae-lB และ Pae-ant-lB

                                (2) ดินเหมาะสมปานกลาง โดยมีข้อจํากัดประเภทเนื้อดินเป็นดินเหนียวที่มีชนิดของ
                  แร่ดินเหนียวประเภท 1:1 เป็นส่วนใหญ่ และมีความลาดชัน 5 – 12 เปอร์เซ็นต์ (2st) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Cg-low,f-cC

                                (3) ดินไม่เหมาะสม โดยมีข้อจํากัดประเภทเนื้อดินเป็นทรายหรือดินเหนียวที่มีชนิดของแร่ดินเหนียว
                  ประเภท 2:1 เป็นส่วนใหญ่ (3s) ได้แก่ หน่วยแผนที่ AC-wd,col-sA, AC-wd,col-sB, Ws-vd-clB, Ws-vd-clC,

                  Ws-vd,br-clA, Ws-vd,br-clB และ Ws-vd,ant,br-clB มีข้อจํากัดมีความลาดชัน 12 – 20 เปอร์เซ็นต์ (3t)
                  ได้แก่ หน่วยแผนที่ Cg-low,f-cD

                                (4) ดินไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยมีข้อจํากัดพบปริมาณเศษหินที่มีขนาดใหญ่กว่าทรายหยาบมาก
                  มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (4g) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Ml-lsk-sglB, Ml-lsk-sglC, Ml-lsk-glD, Tl-lsk-sglB,

                  Tl-lsk-sglC, Tl-lsk-glD, Ty-sglB, Ty-sglC และ Ty-glD มีข้อจํากัดมีความลาดชันมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ (4t)
                  ได้แก่ หน่วยแผนที่ Ws-clE, Ws-clG และ Ws-vd-clF มีข้อจํากัดพบปริมาณเศษหินที่มีขนาดใหญ่กว่าทราย
                  หยาบมาก มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร และมีความลาดชันมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ (4gt) ได้แก่ หน่วยแผนที่
                  Ml-lsk-glE, Ml-lsk-vglE, Ml-lsk-vglF, Ml-lsk-vglG, Tl-lsk-glE, Tl-lsk-vglE, Tl-lsk-vglF, Tl-lsk-vglG และ
                  Ty-glE


                                เมื่อพิจารณาตลอดหน้าตัดดินโดยใช้เกณฑ์การจําแนกความเหมาะสมดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์
                  พบว่า ในบางชุดดินสามารถพิจารณาความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นแหล่งหน้าดิน โดยแยกออกเป็น 2 ส่วนได้
                  เนื่องจากการจัดเรียงตัวของวัสดุดินไม่ต่อเนื่อง จึงไม่สามารถประเมินการใช้ประโยชน์ทางด้านปฐพีกลศาสตร์
                  เป็นระดับเดียวกันได้ ได้แก่
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165