Page 159 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 159

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          128




                             โดยพื้นที่ศักยภาพบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า สามารถสรุป และแบ่งออกเป็น 13 พื้นที่ศักยภาพ
                  ประกอบด้วยพื้นที่มีศักยภาพสําหรับปลูกพืชโดยไม่มีข้อจํากัด 9 พื้นที่ พื้นที่มีศักยภาพแต่มีข้อจํากัดการใช้พื้นที่
                  3 พื้นที่ และพื้นที่ควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                                (1) พื้นที่ศักยภาพที่ 1 (P1) เหมาะสมสําหรับปลูกข้าว ได้แก่ หน่วยแผนที่ Skt-siclA มีเนื้อที่
                  4,542 ไร่ หรือร้อยละ 1.41 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                (2) พื้นที่ศักยภาพที่ 2 (P2) เหมาะสมสําหรับปลูกพืชไร่ (ข้าวโพด, มันสําปะหลัง) ไม้ยืนต้นและ
                  ไม้ผล (ยางพารา, มะม่วงหิมพานต์, มะม่วง, มะขาม, ส้ม, ลําไย) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Don-silA, Don-silB และ

                  Pae-lB มีเนื้อที่ 6,044 ไร่ หรือร้อยละ 1.88 ของพื้นที่ทั้งหมด
                                (3) พื้นที่ศักยภาพที่ 3 (P3) เหมาะสมสําหรับปลูกพืชไร่ (ข้าวโพด, มันสําปะหลัง) ไม้ยืนต้น
                  และไม้ผล (ยางพารา, มะม่วง, มะขาม, ส้ม) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Ws-clB และ Ws-br-clB มีเนื้อที่ 7,357 ไร่

                  หรือร้อยละ 2.28 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                (4) พื้นที่ศักยภาพที่ 4 (P4) เหมาะสมสําหรับปลูกพืชไร่ (มันสําปะหลัง) ไม้ยืนต้นและไม้ผล
                  (ยางพารา, มะม่วง, มะขาม) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Bar-slB มีเนื้อที่ 819 ไร่ หรือร้อยละ 0.25 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                (5) พื้นที่ศักยภาพที่ 5 (P5) เหมาะสมสําหรับปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล (ยางพารา, มะม่วงหิมพานต์,
                  มะม่วง, มะขาม, ส้ม, ลําไย) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Cg-low,f-cC, Ws-vd-clB, Ws-vd-clC, Ws-vd,br-clA และ
                  Ws-vd,br-clB มีเนื้อที่ 8,528 ไร่ หรือร้อยละ 2.64 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                (6) พื้นที่ศักยภาพที่ 6 (P6) เหมาะสมสําหรับปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล (ยางพารา, มะม่วงหิมพานต์,
                  มะม่วง, มะขาม) ได้แก่ หน่วยแผนที่ AC-wd,col-sA, AC-wd,col-sB, Bar-slC, Ws-clC และ Ws-br-clC
                  มีเนื้อที่ 17,163 ไร่ หรือร้อยละ 5.33 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                (7) พื้นที่ศักยภาพที่ 7 (P7) เหมาะสมสําหรับปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล (ยางพารา, มะขาม)
                  ได้แก่ หน่วยแผนที่ Bar-slD, Cg-low,f-cD, Ws-clD และ Ws-br-clD มีเนื้อที่ 4,853 ไร่ หรือร้อยละ 1.51 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                (8) พื้นที่ศักยภาพที่ 8 (P8) เหมาะสมสําหรับปลูกไม้ผล (ส้ม) ได้แก่ หน่วยแผนที่ Tl-lsk-sglB
                  และ Tl-lsk-sglC มีเนื้อที่ 4,139 ไร่ หรือร้อยละ 1.29 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                (9) พื้นที่ศักยภาพที่ 9 (P9) เหมาะสมสําหรับปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ หน่วยแผนที่ Ml-lsk-sglB,
                  Ml-lsk-sglC, Ml-lsk-glD, Tl-lsk-glD, Ty-sglB, Ty-sglC และ Ty-glD มีเนื้อที่ 34,225 ไร่ หรือร้อยละ 10.60

                  ของพื้นที่ทั้งหมด
                                (10) พื้นที่ศักยภาพที่ 10 (P10) เหมาะสมสําหรับปลูกข้าว (มีข้อจํากัดเล็กน้อย) ได้แก่

                  หน่วยแผนที่ Don-gm,ant-silA เนื่องจากดินบนบริเวณนี้เป็นดินร่วนปนทรายแป้ง (silt loam) มีเปอร์เซ็นต์ดินเหนียว
                  ค่อนข้างต่ํา และความจุในการดูดซับหรือแลกเปลี่ยนธาตุอาหารได้น้อย ส่งผลให้ดินบริเวณพื้นที่นี้จะดูดยึด
                  ธาตุอาหารได้ต่ํา และสูญเสียธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่าย (กองสํารวจและจําแนกดิน, 2543) โดยมี

                  เนื้อที่ 1,611 ไร่ หรือร้อยละ 0.50 ของพื้นที่ทั้งหมด
                                (11) พื้นที่ศักยภาพที่ 11 (P11) เหมาะสมสําหรับปลูกข้าว (มีข้อจํากัดรุนแรง) ได้แก่ หน่วยแผนที่
                  Don-ant-silA, Don-ant-silB, Pae-ant-lB, Ws-ant,br-clB และ Ws-vd,ant,br-clB เนื่องจากดินบริเวณนี้

                  เป็นดินในพื้นที่ดอน มีการระบายน้ําดีปานกลางถึงดี ทําให้น้ําไหลซึมผ่านไปจากดินได้เร็ว แต่มีการทําคันนาเพื่อ
                  ปลูกข้าว ดังนั้นการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าวควรระมัดระวังเรื่องการเก็บกักน้ําของดินในช่วงเพาะปลูก โดยมี
                  เนื้อที่ 12,830 ไร่ หรือร้อยละ 3.98 ของพื้นที่ทั้งหมด
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164