Page 117 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 117

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           97




                             2.4 ดินที่เกิดจากการกัดกร่อนของภูเขาที่เป็นหินภูเขาไฟ (eroded hills of igneous rocks
                  such as granite and andesite)

                                   สภาพภูมิประเทศบริเวณนี้มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ลักษณะพื้นที่เป็น
                  ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงสูงชันมาก ความลาดชัน 2 – 75 เปอร์เซ็นต์ ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง
                  ประมาณ 160 – 1,040 เมตร ดินที่เกิดจากหินแกรนิตบริเวณนี้จะเป็นดินร่วนหยาบ ได้แก่ ชุดดินบ้านไร่ (Bar)

                  เป็นดินลึกปานกลางถึงชั้นหินแกรนิตผุ มีการระบายน้ําดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง (pH 5.6 – 6.0)
                  มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และดินที่เกิดจากหินแอนดีไซต์ ได้แก่ ชุดดินท่าลี่ (Tl) ซึ่งเป็นดินตื้นถึงชั้นหินผุ
                  มีความลึกดินไม่เกิน 50 เซนติเมตรจากผิวดิน มีการระบายน้ําดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5 – 7.2)

                  ชุดดินเชียงของ (Cg) เป็นดินลึกมาก สีน้ําตาลปนแดงเข้ม มีการระบายน้ําดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรด
                  ปานกลาง (pH 5.5 – 5.6) โดยดินที่เกิดจากหินอัคนีกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง


                  3. การศึกษาสมบัติของดินสําหรับการประเมินความอุดมสมบูรณ์ และจําแนกความเหมาะสมของดิน
                  บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า

                        การศึกษาสมบัติของดินในพื้นที่ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า โดยใช้ดินเป็นตัวแทนของหน่วยแผนที่ทั้งหมด
                  จํานวน 13 พีดอน (ตารางที่ 9 และภาพที่ 34) ประกอบด้วย ชุดดินสุโขทัย (Skt), ดินดงยางเอนที่มีจุดประ
                  สีเทาและมีคันนา (Don-gm,ant), ชุดดินแพร่ (Pae), ดินตะกอนน้ําพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ําดีและ

                  เป็นดินร่วนหยาบ (AC-wd,col), ดินวังสะพุงที่เป็นดินลึก (Ws-vd), ดินวังสะพุงที่มีสีน้ําตาล (Ws-br),
                  ชุดดินวังสะพุง (Ws), ดินมวกเหล็กที่เป็นดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบปริมาณมาก (Ml-lsk), ชุดดินท่ายาง (Ty),
                  ชุดดินบ้านไร่ (Bar), ดินท่าลี่ที่เป็นดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบปริมาณมาก (Tl-lsk), ดินเชียงของที่มีอุณหภูมิดินแบบ
                  isohyperthermic และเป็นดินเหนียว (Cg-low,f)

                        ผลการศึกษาประกอบด้วยสมบัติทางกายภาพ เคมี และองค์ประกอบเชิงแร่ของดิน การประเมินระดับ

                  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การจําแนกชั้นความเหมาะสมของดินในระดับชุดดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
                  รวมถึงการจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับใช้ประโยชน์ด้านปฐพีกลศาสตร์ มีรายละเอียดดังนี้

                        3.1 สมบัติทางกายภาพ เคมี และแร่วิทยาของดิน

                             3.1.1 การแจกกระจายของอนุภาคและชั้นเนื้อดิน

                                ผลการศึกษาการแจกกระจายของอนุภาคของดินตามความลึกในแต่ละชั้นดิน แสดงดังภาพที่ 35
                  พบว่า การกระจายของอนุภาคขนาดทรายของดินทุกบริเวณในชั้นดินบนอยู่ในพิสัย 114 - 901 กรัมต่อกิโลกรัม

                  ส่วนในชั้นดินล่างอยู่ในพิสัย 42 - 825 กรัมต่อกิโลกรัม โดยส่วนใหญ่การสะสมของอนุภาคขนาดทรายลดลง
                  ตามความลึก เนื่องจากเกิดการชะละลายในหน้าตัดดินโดยน้ํา ทําให้อนุภาคขนาดเล็กลงไปสะสมในชั้นดินล่าง
                  (อภิสิทธิ์, 2527) รวมถึงกระบวนการเคลื่อนย้ายเชิงกล (lessivage) ของอนุภาคขนาดเล็กจากชั้นดินบนลงสู่ชั้น
                  ดินล่าง (เอิบ, 2548) อีกทั้งอิทธิพลจากการกร่อน (erosion) ทําให้อนุภาคขนาดเล็กถูกพัดพาไปจากผิวดินคงเหลือ
                  อนุภาคขนาดทรายในชั้นดินบนอยู่มาก (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548) และเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 13 พีดอน

                  พบว่า การแจกกระจายของอนุภาคขนาดทรายมีปริมาณมากที่สุดใน AC-wd,col รองลงมาคือ Bar, Tl-lsk-1,
                  Tl-lsk-2, Ty, Ml-lsk, Ws, Pae, Cg-low,f, Ws-vd และ Don-gm,ant ตามลําดับ ส่วน Ws-br และ Skt
                  มีปริมาณต่ําที่สุด และเมื่อพิจารณา Ty, Ml-lsk, Bar, Tl-lsk-1 และ Tl-lsk-2 พบว่า มีอนุภาคขนาดทราย

                  ลดลงจากดินชั้นบนและเพิ่มขึ้นในตอนล่างของหน้าตัดดินนั้น เกิดจากอิทธิพลของวัตถุต้นกําเนิดดินพวกหินตะกอน
                  หรือหินอัคนีที่กําลังผุพังสลายตัว และมีแร่ควอตซ์เป็นองค์ประกอบ ดังภาพที่ 36 (ก)
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122