Page 116 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 116

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           96




                  2. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพื้นที่ ธรณีสัณฐาน และทรัพยากรดิน

                        ศึกษาความสัมพันธ์ของชุดดินที่สํารวจพบในลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้าที่มีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่
                  ธรณีสัณฐาน รวมถึงวัตถุต้นกําเนิดดิน เพื่อถ่ายทอดความรู้และเข้าใจได้อย่างง่ายถึงลักษณะของดิน
                  สภาพภูมิประเทศ และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา โดยผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพื้นที่
                  ธรณีสัณฐาน และชุดดิน บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า สามารถแบ่งดินออกเป็น 4 กลุ่ม ได้ดังนี้ (ดังภาพที่ 33)


                             2.1 ดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลําน้ําปัจจุบัน (recent alluvial terrace)
                                   กลุ่มดินนี้เกิดจากตะกอนลําน้ํา (alluvial deposition) ของห้วยน้ําต้าที่พัดพามาทับถมกันไว้

                  ทําให้เกิดที่ราบบนตะพักลําน้ําค่อนข้างใหม่ (semi - recent terrace) บริเวณสองฝั่งของลําน้ําไหลผ่าน
                  ลักษณะพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0 – 2 เปอร์เซ็นต์ ความสูงจากระดับทะเล
                  ปานกลาง ประมาณ 128 - 220 เมตร ชุดดินที่พบบริเวณนี้ ได้แก่ ชุดดินสุโขทัย (Skt) ซึ่งเป็นดินเหนียว ลึกมาก

                  สีน้ําตาลปนเทาเข้ม พบจุดประสีแดงปนเหลือง มีการระบายน้ําค่อนข้างเลว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึง
                  เป็นกลาง (pH 5.8 – 6.0) จําแนกขั้นกลุ่มดินย่อยได้เป็น Aeric (Plinthic) Endoaqualfs ดินกลุ่มนี้โดยทั่วไป
                  มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการทํานา

                             2.2 ดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลําน้ําเก่า (old alluvial terrace)

                                   กลุ่มดินที่เกิดบริเวณสูงขึ้นไปกว่าบริเวณตะพักลําน้ําค่อนข้างใหม่ เกิดจากการทับถมของ
                  ตะกอนลําน้ําเช่นเดียวกันแต่เกิดขึ้นก่อน และมีอายุทางธรณีสัณฐานมากกว่า ลักษณะพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ

                  ถึงลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชัน 1 – 5 เปอร์เซ็นต์ ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง ประมาณ 150 - 300 เมตร
                  ชุดดินที่พบบริเวณนี้ ได้แก่ ชุดดินแพร่ (Pae) และชุดดินดงยางเอน (Don) ซึ่งเป็นดินร่วนละเอียดและดินร่วน
                  ปนทรายแป้ง ตามลําดับ ลึกมาก สีน้ําตาลหรือสีน้ําตาลเข้ม พบจุดประสีน้ําตาลปนเหลือง มีการระบายน้ําดี
                  ปานกลางถึงดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงด่างจัด (pH 5.4 – 8.8) ดินกลุ่มนี้โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

                  ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่

                             2.3 ดินที่เกิดจากพื้นที่ผิวที่เหลือตกค้างจากการกัดกร่อน (dissected erosion surface)

                                   กลุ่มดินที่เกิดบริเวณระหว่างเทือกเขากับบริเวณลานตะพักลําน้ําเก่า ซึ่งอยู่ห่างไกล
                  จากห้วยน้ําต้า เกิดขึ้นจากการกัดกร่อนชะล้างและพังทะลายของวัตถุต้นกําเนิด ซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลา
                  ยาวนาน วัตถุต้นกําเนิดดินเกิดจากวัสดุตกค้าง และเศษหินเชิงเขาของกลุ่มหินตะกอน ได้แก่ หินดินดานและ
                  หินทราย สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงสูงชันมาก ความลาดชัน 2 – 75 เปอร์เซ็นต์

                  ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง ประมาณ 180 - 800 เมตร ชุดดินที่พบบริเวณนี้ ได้แก่ ชุดดินวังสะพุง (Ws)
                  เป็นดินเหนียว ลึกปานกลางถึงชั้นหินผุ มีการระบายน้ําดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงด่างปานกลาง (pH 5.3 – 8.3)
                  และชุดดินมวกเหล็ก (Ml) ซึ่งเป็นดินตื้นถึงชั้นหินผุของหินดินดาน มีการระบายน้ําดี ปฏิกิริยาดินเป็น

                  กรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (pH 6.2 – 6.8) ซึ่งทั้งสองชุดดินสามารถจําแนกขั้นกลุ่มดินใหญ่ได้เป็น Haplustalfs
                  โดยกลุ่มดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินดินดานส่วนใหญ่นั้นมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ส่วนชุดดิน
                  ท่ายาง (Ty) เป็นดินตื้นถึงชั้นหินผุของหินทราย มีการระบายน้ําดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด จําแนกขั้นกลุ่มดิน
                  ใหญ่ได้เป็น Haplustults ดินกลุ่มนี้โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121