Page 8 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                 1







                                                             บทที่ 1
                                                             บทน า


                       1.1  หลักการและเหตุผล
                            จังหวัดพิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มตอนเหนือของภาคกลาง มีแม่น้ ายมและแม่น้ าน่าน
                       ไหลผ่าน จึงเหมาะแก่การกสิกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าว จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นเมือง

                       อู่ข้าว อู่น้ า จังหวัดหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้จังหวัดพิจิตรยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่ส าคัญ
                       และได้จดทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้า GI) ได้แก่ ส้มโอท่าข่อย ซึ่งเป็นส้มโอ
                       ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิจิตรและมีชื่อเสียงมากที่สุดในเขตภาคเหนือ เนื้อส้มมีสีชมพูอ่อน รสชาติ
                       หอมหวานเนื้อแน่นไม่เละ พันธุ์ส้มโอท่าข่อยปลูกครั้งแรกที่บ้านท่าข่อย ต าบลเมืองเก่า เมื่อประมาณ

                       ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา (ส านักงานจังหวัดพิจิตร,  2560ค) ส าหรับด้านการประกอบอาชีพนั้น ประชากร
                       ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเน้นภาคการผลิตเป็นหลัก รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรม
                       การค้าส่ง ค้าปลีกและการบริการ ด้วยสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน จังหวัดพิจิตรจึงประสบภัยธรรมชาติ

                       ทั้งน้ าท่วมและภัยแล้ง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรที่ไม่แน่นอนและนโยบายของรัฐ ส่งผล
                       ให้จังหวัดพิจิตรมีการใช้ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่า พ.ศ. 2559 จังหวัดพิจิตรประสบปัญหาภัยแล้ง
                       อย่างรุนแรงต่อเนื่องมาจาก พ.ศ. 2558 และราคาผลผลิตข้าวตกต่ า ท าให้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่
                       ปลูกข้าวมาท าการปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น ในพื้นที่อ าเภอบึงนารางมีการปลูกกล้วยแทนการท านาข้าว
                       เนื่องจากใช้น้ าน้อยและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินดังกล่าว อาจส่งผล

                       ให้เกิดการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และศักยภาพของดิน ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงสภาพการใช้
                       ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จึงด าเนินการส ารวจ จัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน และศึกษา
                       การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดพิจิตร โดยมีการน าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการ

                       ความรู้จากเทคโนโลยีด้านการรับรู้จากระยะไกล (Remote  Sensing:  RS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                       (Geographic Information System: GIS) และระบบก าหนดต าแหน่งบนโลก (Global Positioning
                       Systems: GPS) มาใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงพื้นที่หรือข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ส าหรับใช้ในการก าหนด
                       เขตพัฒนาที่ดิน และวางแผนการใช้ที่ดินด้านการเกษตรให้เหมาะสมต่อศักยภาพของพื้นที่ต่อไป


                       1.2  วัตถุประสงค์
                            1)    เพื่อส ารวจและจัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดินเชิงเลขจังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2559 มาตราส่วน
                       1: 25,000

                            2)    เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดพิจิตร ระหว่าง พ.ศ. 2556 และพ.ศ. 2559

                       1.3  ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินงาน
                            ระยะเวลาด าเนินการ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558-กันยายน พ.ศ. 2559

                            สถานที่ด าเนินการ จังหวัดพิจิตร
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13