Page 95 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 95

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                              ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน

                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย

                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 32 ตัวอย่าง ประกอบด้วย



                                กลุ่มชุดดินที่ 12 (Group 12) ดินเลนเค็มชายทะเลและไม่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดิน
                                  กรดก ามะถัน ได้แก่ ชุดดินท่าจีน (Tc)

                                กลุ่มชุดดินที่ 13 (Group 13) ดินเลนเค็มชายทะเลที่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินกรด

                                  ก ามะถัน ได้แก่ ชุดดินตะกั่วทุ่ง (Tkt) และ ชุดดินบางปะกง (Bpg)

                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ

                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม เป็นข้อมูล
                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ  54.28  ของความผันแปร  (Variation) ของข้อมูล จากภาพที่ 10

                       ใช้ปัจจัยในการอธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่ 10  ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเครือ

                       สหาย (Affinity groups) ภาพที่ 10ก

                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) โซเดียม (Na) แคลเซียม (Ca) และ

                       ก ามะถัน (S)

                               กลุ่มที่ 2  ประกอบด้วย  ซิลิคอน  (Si)  อะลูมินัม (Al)  แมกนีเซียม  (Mg) โพแทสเซียม  (K)

                       ฟอสฟอรัส (P) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ไทเทเนียม (Ti) และ สังกะสี (Zn)

                               กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) และ อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt)

                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ ข ของกลุ่มชุดดินในพื้นที่

                       ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง  ของกลุ่มดินเลนชายทะเล  จะเห็นว่าอนุภาคขนาดดินเหนียว โซเดียม แคลเซียม

                       และก ามะถัน ซึ่งเหมือนกับดินชายทะเลทั่วโลกที่ได้รับอิทธิพลของน้ าใต้ดินที่มีเกลือสูง และอิทธิพล
                       ของน้ าทะเลโดยตรง (Vengosh et al. 1999, 2005; Fakir et al. 2002; Capaccioni et al. 2005;

                       Chen and Jiao, 2007)

                               ส าหรับชุดดินท่าจีน (Tc) ที่เป็นดินเลนเค็มชายทะเล  และไม่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดิน

                       กรดก ามะถัน มีค่าก ามะถันต่ ากว่าชุดดินอื่นท าให้ชุดดินท่าจีนแยกออกมาจากชุดดินอื่น ทั้งนี้ชั้นดิน
                       ล่างของชุดดินท่าจีนมีค่าก ามะถันสูงกว่าชั้นดินบนท าให้ต าแหน่งของชั้นดินล่างของชุดดินท่าจีนอยู่ใกล้

                       กับก ามะถัน



                                                                                                       82
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100