Page 78 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 78

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) ซิลิคอน (Si) มีความสัมพันธ์กันอย่าง

                       ชัดเจน เนื่องจากอนุภาคขนาดทราย มีแร่ควอร์ต (SiO )  เป็นองค์ประกอบหลักท าให้อนุภาคขนาด
                                                                    2
                       ทราย และซิลิคอน จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

                               กลุ่มที่ 2  ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay)  อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt)

                       อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe)  แมงกานีส (Mn)  แคลเซียม (Ca)  แมกนีเซียม  (Mg) โพแทสเซียม  (K)

                       โซเดียม (Na) ฟอสฟอรัส (P) ก ามะถัน (S) ไทเทเนียม (Ti) และ สังกะสี (Zn)


                               ความเข้มข้นของปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดิน และตะกอนเกิดจากอิทธิพลของชั้นหิน

                       พื้น วัตถุต้นก าเนิด แร่ในดิน (Tack et al., 1997; Temmerman et al., 2003, Diez et al., 2007;

                       Roca  et  al.,  2008) อนุภาคขนาดดินเหนียว (มีอะลูมินัมเป็นองค์ประกอบหลัก) โดยองค์ประกอบ

                       รวมของอะลูมินัมส่วนใหญ่ของดินในกลุ่มนี้อยู่ในแร่ดินเหนียว (อนุภาคขนาดดินเหนียว) ซึ่งธาตุโดย

                       ส่วนใหญ่มักมีความสัมพันธ์กับแร่ดินเหนียวอย่างใกล้ชิด (Saedeleer et al., 2010)



                               เนื่องจากกลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขังของกลุ่มดินเหนียวมีแร่ดินเหนียวที่มีกิจกรรม
                       สูงเป็นองค์ประกอบหลัก  (Motomura  et  al.,  1981) ซึ่งแร่ดังกล่าวมีสมบัติในการดูดยึดธาตุ เช่น


                       โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และโลหะหนัก ได้ดี นอกจากนี้ดินในกลุ่มนี้เป็นดินที่มีพล
                       วัติ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากน้ าใต้ดิน ท าให้ เหล็ก แมงกานีส สังกะสี และก ามะถัน อยู่ในต าแหน่ง


                       ตรงกลางของกลุ่มที่ 2 ซึ่งจะแปรผันตามการขึ้นลงของน้ าใต้ดิน และน้ าทะเล  (Sinsakul,  2000)
                       แร่ดินเหนียว และแร่รองที่มีเหล็กสูง (Fe-rich  accessory  minerals)  เช่น เหล็กออกซี หรือ


                       เหล็กไฮดรอกไซด์ (Fe-oxi/hydroxides)  และแร่ฟิลโลซิลิเกต (phylosilicates) มีมากในอนุภาค

                       ขนาดดินเหนียว (< 2 µm) (Schulze, 1988)


                               ในขณะที่ อนุภาคขนาดทรายแป้ง และโพแทสเซียม  มีความสัมพันธ์กันนั้นเนื่องจากแร่

                       โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ (KAl Si O ) ในอนุภาคขนาดทรายแป้ง ซึ่งดินในกลุ่มนี้มักไม่ขาดโพแทสเซียม
                                                 3 8
                       (Darunsontaya et al., 2012) ดินในกลุ่มดินนี้เป็นดินที่สามารถใช้ในการเพาะปลูกพืชได้เป็นอย่างดี

                       เนื่องจากเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง















                                                                                                       65
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83