Page 77 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 77

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand)  ทรายแป้ง (Silt)  และดินเหนียว (Clay)
                       หน่วยวิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 156 ตัวอย่าง ประกอบด้วย


                                กลุ่มชุดดินที่ 1 (Group 1) ดินเหนียวสีด าลึกมาก มีรอยแตกระแหงกว้างและลึก ได้แก่
                                  ชุดดินบ้านหมี่ (Bm) ชุดดินบุรีรัมย์  (Br)  ชุดดินช่องแค (Ck)  ชุดดินโคกกระเทียม (Kk)

                                  และ ชุดดินวัฒนา (Wa)


                                กลุ่มชุดดินที่ 3 (Group 3)  ดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนน้ ากร่อย อาจพบชั้นดิน
                                  เลนของตะกอนน้ าทะเล  ได้แก่ ชุดดินบางแพ (Bph) ชุดดินฉะเชิงเทรา  (Cc)  ชุดดิน

                                  สมุทรปราการ (Sm) ชุดดินบางกอก (Bk) และชุดดินบางเลน (Bl)

                                กลุ่มชุดดินที่ 4  (Group  4)  ดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ าที่มีอายุน้อย

                                  ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่าง ได้แก่  ชุดดินพิมาย (Pm  ) ชุดดินชุมแสง (Cs) ชุดดิน
                                  ราชบุรี (Rb) และ ชุดดินท่าเรือ (Tr)


                                กลุ่มชุดดินที่ 5 (Group 5) ดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ า  การระบายน้ าเลว
                                  ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือเป็นด่าง ได้แก่ ชุดดินหางดง (Hd) ชุดดินละงู (Lgu) และ ชุด

                                  ดินพาน (Ph)


                                กลุ่มชุดดินที่ 6 (Group 6) ดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ า ปฏิกิริยาดินเป็น
                                  กรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด ได้แก่ ชุดดินบางนารา (Ba) ชุดดินเชียงราย  (Cr)  ชุดดิน

                                  นครพนม (Nn) ชุดดินแกลง (Kl) และชุดดินพัทลุง (Ptl)


                                กลุ่มชุดดินที่ 7 (Group 7) ดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ า ระบายน้ าค่อนข้าง
                                  เลว  ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่าง  ได้แก่ ชุดดินเดิมบาง (Db) ชุดดินผักกาด  (Pat)

                                  ชุดดินท่าตูม (Tt) ชุดดินมโนรมย์ (Mn) และ ชุดดินนครปฐม (Np)


                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ

                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็นข้อมูล
                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 56.58 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ

                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่  8 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเครือสหาย (Affinity

                       groups) ภาพที่ 8ก




                                                                                                       64
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82