Page 121 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 121

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray fluorescence spectrophotometry (XRF) ประกอบด้วยธาตุ 12 ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม  (Al) เหล็ก (Fe) ไทเทเนียม  (Ti)  โซเดียม (Na) แมกนีเซียม  (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca) ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P) แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn)  สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 10 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                กลุ่มชุดดินที่ 25 (Group 25) ดินตื้น ได้แก่ ชุดดินอ้น (On) ชุดดินเพ็ญ (Pn) และ ชุด

                                  ดินย่านตาขาว (Yk)


                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ
                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็นข้อมูล

                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ  70.60  ของความผันแปร  (Variation) ของข้อมูล จากภาพที่ 15

                       แสดงให้เห็นว่าชุดดินต่าง ๆ ในกลุ่มชุดดินนี้มีความแปรปรวนมากในแง่ของปริมาณรวมของธาตุ
                       เนื่องจากพฤติกรรมของตัวอย่างดินนั้นมีค่าความผันแปรมากถึงร้อยละ 70 ใช้ปัจจัยในการอธิบายสอง

                       ปัจจัยดังแสดงในภาพที่  15 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเครือสหาย (Affinity  groups)

                       ภาพที่ 15ก ประกอบด้วย

                                 กลุ่มที่ 1  ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt) ซิลิคอน  (Si) แคลเซียม (Ca)

                                   แมงกานีส (Mn) และไทเทเนียม (Ti)


                                 กลุ่มที่ 2  ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay)  อนุภาคขนาดทราย  (Sand)
                                   อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe)  แมกนีเซียม  (Mg) โพแทสเซียม  (K)  โซเดียม (Na)

                                   ฟอสฟอรัส (P) ก ามะถัน (S) และ สังกะสี (Zn)

                               จากการจัดกลุ่มของเครือสหายจะเห็นได้ว่ากลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง  ของกลุ่ม

                       ดินตื้น ภาพที่ 15ก จะเห็นว่าอนุภาคขนาดดินเหนียว และอนุภาคขนาดทราย มีความสัมพันธ์ใกล้กัน
                       มาก แต่ซิลิคอนไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอนุภาคขนาดทราย ทั้งนี้เนื่องจากซิลิคอนไม่ได้อยู่ใน

                       อนุภาคขนาดทรายเป็นส่วนใหญ่ แต่อยู่ในสารเชื่อมของดิน จากภาพที่ 15ก จะเห็นว่าวัสดุที่เชื่อมกัน
                       ที่ท าให้ดินตื้นน่าจะประกอบไปด้วย อนุภาคขนาดทรายแป้ง ซิลิคอน แคลเซียม แมงกานีส และ

                       ไทเทเนียม (Moore, 2001)















                                                                                                      108
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126