Page 90 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       82



                       ตำรำงที่ 20  การจัดระดับการคาดคะเนความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                            ความลึก       OM          P           CEC         BS        ความอุดมสมบูรณ์
                                                        -1
                                                                       -1
                             (cm)         (%)      (mg kg )    ( cmol kg )    (%)
                             0-25         1.5       33.7          35.0        51
                            (ระดับ)        M          H            H           M            ค่อนข้างสูง
                             25-50        0.8       23.0          36.4        53
                            (ระดับ)        L         M             H           M           ปานกลาง

                              จากการประเมินระดับความอุดมสมบรณ์ของดินตามวิธีขององค์การอาหารและเกษตรแห่ง

                       สหประชาชาติ (FAO) พบว่าในดินบนปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับปานกลาง ปริมาณฟอสฟอรัส
                       และความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนอยู่ในระดับสูง อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสอยู่ในระดับปานกลาง
                       และในดินล่างปริมาณอินทรียวัตถุ มีค่าอยู่ในระดับต่ า ปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในระดับปานกลาง ความ
                       จุแลกเปลี่ยนแคตไอออนอยู่ในระสูง และอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสอยู่ในระดับต่ า ความอุดม

                       สมบูรณ์ของดินจัดอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง  ส าหรับแนวทางในการปรับปรุงดินจะต้อง
                       ค านึงถึงชนิดและพันธุ์พืช อัตราและชนิดของปุ๋ย รวมทั้งลักษณะสภาพแวดล้อมประกอบด้วย จะท าให้
                       สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้

                              จะเห็นได้ว่าวิธีการประเมินความอุดมสมบูรณ์ทั้ง 2 แนวทาง ให้ผลการประเมินระดับความ
                       อุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันคืออยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ซึ่งแนวทางทั้ง

                       สองวิธีสามารถน าไปประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ได้ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีการใด ทั้งนี้ระดับความ
                       อุดมสมบูรณ์ของดินเป็นปัจจัยที่ชี้บ่งถึงก าลังการผลิตของดินที่มีผลต่อการตัดสินใจ ในการเลือกชนิด
                       ของพันธุ์พืช อัตราและชนิดของปุ๋ยเคมี เพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเหมาะสมกับศักยภาพของดิน

                       อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมให้
                       เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการซื้อสารเคมี และวัสดุปรับปรุงดิน
                       ต่างๆ ซึ่งจะท าให้ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้

                              การวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ข้อมูลผลวิเคราะห์ดินที่ได้
                       สามารถน าไปใช้ในการจ าแนกดินและประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นข้อมูลที่ได้จากวิธีการ

                       วิเคราะห์มาตรฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการโดยทั่วไป จึงสามารถน าไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการ
                       เพาะปลูกพืช การจัดการธาตุอาหารพืชว่าอยู่ในระดับสูงหรือต่ าเพียงใด ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการ
                       จัดการดินเพื่อเพิ่มศักยภาพของดินในการให้ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามข้อมูลผล
                       วิเคราะห์ดินเพื่อการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินจะมีความถูกต้องและแม่นย ามากน้อยเพียงใด

                       จะขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บตัวอย่างดิน การเตรียมตัวอย่างดิน ที่เป็นตัวแทนที่ดีของดินในพื้นที่นั้นๆ ดังที่
                       กล่าวมาในเบื้องต้นเป็นส าคัญ
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95