Page 13 - แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580)
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            (3)


                              3) ท าการให้คะแนน โดยแบ่งกลุ่มตามดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ 5 ประเภท
                   รวมคะแนนของแต่ละกลุ่มและหาค่าเฉลี่ย เพื่อวิเคราะห์และจัดล าดับความส าคัญของปัจจัย

                              4) จัดท าแผนพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาทั้ง 5 ประเภท และเพิ่มอีก 1 ประเภท
                   คือ ดินปัญหาจากการใช้ที่ดินและมีข้อจ ากัดทางการเกษตร ซึ่งแผนพัฒนาฯ ประกอบด้วย

                                - การประเมินสภาพแวดล้อมของปัจจัย (SWOT Analysis) ได้แก่ การวิเคราะห์จุดแข็ง
                   จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
                                - การก าหนดเป้าประสงค์ (Goals) และตัวชี้วัด (KPIs) ซึ่งมี 4 มิติ คือ มิติประสิทธิผล

                   มิติคุณภาพ มิติประสิทธิภาพ และมิติพัฒนาองค์การ
                                - การก าหนดกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนา ซึ่งมี 4 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์

                   เชิงแก้ไข กลยุทธ์เชิงป้องกัน และกลยุทธ์เชิงรับ
                                - จัดท าโครงการสนับสนุน ซึ่งเป็นแนวทางการด าเนินงานหรือการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ที่มี
                   ความสอดคล้องกับเป้าหมายในการด าเนินงานอย่างชัดเจน


                          ทั้งนี้ ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ สามารถสรุปได้ดังนี้
                              1) ดินอินทรีย์

                                จากการวิเคราะห์และจัดล าดับความส าคัญของปัจจัยฯ พบว่า ควรให้ความส าคัญในพื้นที่
                   ดินอินทรีย์ที่มีวัสดุอินทรีย์หนา 40-100 เซนติเมตรจากผิวดิน เป็นอันดับแรก และดินอินทรีย์ที่มีวัสดุอินทรีย์

                   หนามากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน จะให้ความส าคัญรองลงมา และให้ความส าคัญในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดิน
                   ในการปลูกปาล์มน้ ามัน ยางพารา ข้าว และไม้ยืนต้น เป็นอันดับแรก
                              2) ดินเค็ม

                                 จากการวิเคราะห์และจัดล าดับความส าคัญของปัจจัยฯ พบว่า ควรให้ความส าคัญเป็นอันดับ
                   แรกในพื้นที่ดินเค็มที่พบคราบเกลือบนผิวดินน้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ และไม่เป็นดินที่พบชั้นสะสมเกลือ

                   จากการละลายของหินเกลืออยู่ภายในหน้าตัดดิน (Natric Horizon) และให้ความส าคัญในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดิน
                   ในการปลูกข้าว มันส าปะหลัง และอ้อย ส าหรับพื้นที่ดินเค็มที่พบคราบเกลือบนผิวดินมากกว่าร้อยละ 50

                   ของพื้นที่ และพบชั้นสะสมเกลือจากการละลายของหินเกลืออยู่ภายในหน้าตัดดิน (Natric Horizon) รวมถึง
                   ดินเค็มชายทะเล ควรให้ความส าคัญในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินในการปลูกข้าว อ้อย มะพร้าว และยางพารา

                              3) ดินเปรี้ยวจัด
                                จากการวิเคราะห์และจัดล าดับความส าคัญของปัจจัยฯ พบว่า ควรให้ความส าคัญอันดับแรก
                   ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดก ามะถันลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร ที่มีความรุนแรงของปัญหาต่อการผลิต

                   พืชในระดับปานกลางถึงน้อย และควรให้ความส าคัญในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินในการปลูกข้าว และยางพารา
                   ส าหรับพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดก ามะถัน ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ที่มีความรุนแรง

                   ของปัญหาต่อการผลิตพืชในระดับมาก พบว่า ควรให้ความส าคัญในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินในการปลูกข้าว และ
                   ปาล์มน้ ามัน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18