Page 11 - แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580)
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           (1)


                                                 บทสรุปส ำหรับผู้บริหำร


                         แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) จัดท าขึ้น

                   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรดินและการปฏิรูปภาค
                   การเกษตรสู่การปฏิบัติ มีเป้าประสงค์ส าคัญสูงสุด (Ultimate Goal) คือ พื้นที่ดินปัญหาได้รับการบริหาร
                   จัดการอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของดิน ไม่น้อยกว่า 40 ล้านไร่ การจัดท าแผนฯ ได้ศึกษาแนวทางและทิศทาง

                   การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนปฏิรูป
                   ประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์เกษตรและ

                   สหกรณ์ และยุทธศาสตร์กรมพัฒนาที่ดิน โดยมีการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจนสามารถน ามาสู่การ
                   ก าหนดกรอบแนวทางและทิศทางในการจัดท าแผนฯ โดยแผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาฯ นี้ ได้ให้

                   ความส าคัญกับดินปัญหาทางการเกษตร ซึ่งสามารถจ าแนกตามสาเหตุของการเกิด ได้เป็น 2 ประเภท คือ
                   ดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ และดินปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยดินปัญหาที่เกิดตาม

                   สภาพธรรมชาติ ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด และดินตื้น ส าหรับดินปัญหาที่เกิดจาก
                   การใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น ดินดาน ดินปนเปื้อน ดินเหมืองแร่ร้าง และดินในพื้นที่นากุ้งร้าง นอกจากนี้ยังรวมถึง
                   ดินที่มีปัญหาเล็กน้อยที่เป็นข้อจ ากัดทางการเกษตร เช่น ดินกรด และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า เป็นต้น


                         1. ข้อมูลทรัพยำกรดินปัญหำและกำรใช้ที่ดินในพื้นที่ดินปัญหำ
                            กรมพัฒนาที่ดิน โดยกองส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน ได้จัดท าข้อมูลและแผนที่ดินปัญหา
                   ฉบับปี พ.ศ. 2561 โดยปรับปรุงจากฐานข้อมูลสถานภาพทรัพยากรดินของประเทศไทยปี พ.ศ. 2558 เป็นการ

                   น าฐานข้อมูลกลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 มาจ าแนกตามลักษณะและสมบัติดินประจ ากลุ่มชุดดิน ซึ่งจะ
                   เป็นดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ 5 ประเภท ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด และ

                   ดินตื้น มีพื้นที่รวม 60,025,262 ไร่ และได้วิเคราะห์ข้อมูลดินปัญหา กับข้อมูลการใช้ที่ดินของประเทศไทยใน
                   ปี พ.ศ. 2558-2559 ของกรมพัฒนาที่ดิน สามารถจ าแนกดินปัญหากับการใช้ที่ดิน สรุปได้ดังนี้

                             1) ดินอินทรีย์ มีพื้นที่รวมทั้งประเทศ 345,444 ไร่ พบในบริเวณที่ลุ่มน้ าขังชายฝั่งทะเลของ
                   ภาคใต้ มีการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด มีเนื้อที่ 216,172 ไร่ หรือร้อยละ 62.58 ของพื้นที่ดินอินทรีย์

                   รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 81,406 ไร่ หรือร้อยละ 23.57 ของพื้นที่ดินอินทรีย์ และเป็นพื้นที่
                   เบ็ดเตล็ด (เช่น พื้นที่ทิ้งร้าง พื้นที่ลุ่ม เหมืองแร่ บ่อลูกรัง บ่อทราย) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่
                   แหล่งน้ า

                             2) ดินเค็ม มีพื้นที่รวมทั้งประเทศ 4,200,111 ไร่ ประกอบด้วยดินเค็มชายทะเล 1,961,915 ไร่
                   และดินเค็มบก 2,238,196 ไร่ นอกจากนี้ ได้ท าการส ารวจและศึกษาดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้

                   ปริมาณคราบเกลือที่ผิวดินที่พบในฤดูแล้งมาเป็นเกณฑ์ในการจัดท าแผนที่ พบว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ
                   มีเนื้อที่ 11,506,882 ไร่ และหากซ้อนทับข้อมูลดินเค็มกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ พบว่า มีพื้นที่รวม

                   13,749,799 ไร่ มีการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุด มีเนื้อที่ 10,226,227 ไร่ หรือร้อยละ 74.37
                   รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 1,495,732 ไร่ หรือร้อยละ 10.88  และเป็นพื้นที่เบ็ดเตล็ด (เช่น พื้นที่ทิ้งร้าง

                   พื้นที่ลุ่ม เหมืองแร่ บ่อลูกรัง บ่อทราย) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่แหล่งน้ า
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16