Page 4 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 4

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          (2)


                                กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง เนื่องจากติดข้อจํากัดการถ่ายเทอากาศ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่

                     37 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 3.79-5.35 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่
                     35 40 41 และ 44 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 2.79-5.28 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดปฏิกิริยาดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 38
                     มีผลผลิตอยู่ในช่วง 5.12-5.33 ตันต่อไร่  รวมพื้นที่มีความเหมาะสมปานกลางสําหรับการปลูกมันสําปะหลัง
                     จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ 927,067 ไร่ หรือร้อยละ 42.98 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัด
                     นครราชสีมา


                                กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา เนื่องจากติดข้อจํากัดการถ่ายเทอากาศ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 15 17
                     18 19 22 และ 60 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 0.82-2.27 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดความอิ่มตัวเบส ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่
                     56 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 3.08-3.21 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดความลึกดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 46 47 48 และ 49
                     มีผลผลิตอยู่ในช่วง 2.12-3.05 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 29 31 33 และ 55 มี
                     ผลผลิตอยู่ในช่วง 2.05-3.02 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดการถ่ายเทอากาศและความเค็ม ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 20hi มี

                     ผลผลิตอยู่ในช่วง 0.96-1.01 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดการถ่ายเทอากาศและเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 4 7 และ
                     7hi มีผลผลิตอยู่ในช่วง 0.82-0.96 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดปฏิกิริยาดินและเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 54 มี
                     ผลผลิตอยู่ในช่วง 2.71-2.79 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดปฏิกิริยาดินและเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 52 มีผลผลิต

                     อยู่ในช่วง 2.06-2.19 ตันต่อไร่ รวมพื้นที่มีความเหมาะสมต่ําสําหรับการปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา มี
                     เนื้อที่ 672,165 ไร่ หรือร้อยละ 31.17 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                                กลุ่มที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากติดข้อจํากัดความเค็ม ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 20 มีผลผลิตอยู่ในช่วง
                     0.89-0.94 ตันต่อไร่ ติดข้อจํากัดเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 1.46-1.61 ตันต่อไร่ ติด
                     ข้อจํากัดความลาดชัน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่พบในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ติด

                     ข้อจํากัดมีการทําคันดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 31b 31Bb 35b 35Bb 36b 36Bb 40b 40Bb 41b 41Bb
                     44Bb 55b 55Bb และ 56b กลุ่มชุดดินที่พบในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่
                     มีการทําคันดินเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตสําหรับปลูกมันสําปะหลัง รวมพื้นที่ไม่เหมาะสม
                     สําหรับการปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ 327,901 ไร่ หรือร้อยละ 15.34 ของพื้นที่ปลูก

                     มันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                           เมื่อพิจารณาถึงข้อจํากัดดินที่มีผลต่อการให้ผลผลิตมันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                     พบว่า ข้อจํากัดในเรื่องของการถ่ายเทอากาศและเนื้อดิน เป็นข้อจํากัดที่รุนแรงมากถึงมากที่สุดที่ทําให้
                     มันสําปะหลังไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ อีกทั้งเป็นข้อจํากัดที่แก้ไขได้ยากและไม่คุ้มค่าแก่การ
                     ลงทุน ข้อจํากัดอีกประการหนึ่ง คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงแนะนําให้ใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์และ

                     ปุ๋ยเคมีให้เพียงพอต่อความต้องการของมันสําปะหลัง เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลังต่อหน่วยพื้นที่ให้สูงขึ้น
   1   2   3   4   5   6   7   8   9