Page 3 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          (1)


                                                            บทคัดย่อ


                           การศึกษาแนวทางการประเมินกําลังผลิตของดินสําหรับปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

                     โดยการประยุกต์ใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  สําหรับประเมินกําลังผลิตของดิน เพื่อ
                     จําแนกระดับความเหมาะสม และกําลังผลิตของดินรวมถึงข้อจํากัดดิน และแนวทางการจัดการดิน สําหรับปลูก
                     มันสําปะหลัง ซึ่งนําข้อมูลสมบัติดิน ภูมิอากาศ สัมประสิทธิ์พันธุกรรมพืช และการจัดการที่เป็นปัจจัยสําคัญใน
                     การปลูกพืชมาวิเคราะห์ร่วมกัน และนํามาสร้างหน่วยแผนที่การจําลอง (Simulation Mapping Unit : SMU)
                     โดยใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ในการประเมินกําลังผลิตของกลุ่มชุดดินสําหรับปลูก

                     มันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบว่า การประยุกต์ใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
                     สามารถประเมินข้อจํากัดของดินและจัดระดับความเหมาะสมของดินออกเป็นระดับความเหมาะสมในแต่ละ
                     กลุ่มชุดดินได้ โดยใช้ปัจจัยทางด้านดิน พืช ภูมิอากาศ เช่นเดียวกับวิธีการจัดระดับความเหมาะสมของที่ดิน

                     ที่ใช้ในคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดิน โดยใช้หลักการประมาณค่าของปัจจัยตามความต้องการพืช ซึ่ง
                     สามารถนําโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO มาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการประเมินกําลังผลิต
                     ของดินในพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายของข้อมูลดิน อีกทั้งสามารถคาดการณ์ผลผลิตได้อีกด้วย
                     โดยที่แบบจําลองการปลูกพืชอื่น เช่น แบบจําลองการปลูกพืช DSSAT สามารถคาดการณ์ผลผลิตพืชได้แต่

                     ไม่แสดงข้อจํากัดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตได้เช่นเดียวกับโปรแกรม PLANTGRO

                           การจําแนกระดับความเหมาะสมและกําลังผลิตของดินในพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
                     ตามศักยภาพดิน (ก่อนการแก้ไขข้อจํากัด) สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้

                                กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีเนื้อที่ 852,135 ไร่ หรือร้อยละ 39.51 ของพื้นที่ปลูก
                     มันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 36 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 4.29-5.29 ตันต่อไร่ กลุ่มชุดดินที่
                     40 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 3.94-5.28 ตันต่อไร่

                                กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา มีเนื้อที่ 908,642 ไร่ หรือร้อยละ 42.13 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง

                     จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 29 31 33 35 37 38 41 44 46 47 48 49 52 54 55 56 และ 60
                     มีผลผลิตอยู่ในช่วง 2.00-3.21 ตันต่อไร่

                                กลุ่มที่ไม่เหมาะสม มีเนื้อที่ 395,976 ไร่ หรือร้อยละ 18.36 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัด
                     นครราชสีมา ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 4 7 7hi 15 17 18 19 20 20hi 22 28 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 0-1.61 ตันต่อไร่

                           การจําแนกระดับความเหมาะสมและกําลังผลิตของดินในพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                     ด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO หลังแก้ไขข้อจํากัดดินในเรื่องธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน
                     ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และการระบายอากาศของดิน พบว่า การแก้ไขข้อจํากัดดินในโปรแกรมแบบจําลองการ
                     ปลูกพืช PLANTGRO  สามารถยกระดับความเหมาะสมของดิน และผลผลิตของมันสําปะหลังได้ แบ่งออกเป็น
                     4 กลุ่ม ดังนี้

                                กลุ่มที่มีความเหมาะสมดี เนื่องจากติดข้อจํากัดความจุแลกเปลี่ยนแคตไออน ได้แก่ กลุ่มชุดดิน

                     ที่ 36 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 5.33-5.53 ตันต่อไร่ มีเนื้อที่ 226,620 ไร่ หรือร้อยละ 10.51 ของพื้นที่ปลูก
                     มันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
   1   2   3   4   5   6   7   8