Page 116 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 116

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          85


                                         (3) กลุ่มชุดดินที่ติดข้อจํากัดเนื้อดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 มีผลผลิตอยู่ในช่วง
                     1.46-1.61 ตันต่อไร่ มีเนื้อที่ 7,858 ไร่ หรือร้อยละ 0.36 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                                         (4) กลุ่มชุดดินที่ติดข้อจํากัดการถ่ายเทอากาศ ความเค็ม และโพแทสเซียม
                     ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 20 ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต มีเนื้อที่ 5,189 ไร่ หรือร้อยละ 0.24 ของพื้นที่
                     ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
                                         (5) กลุ่มชุดดินที่ติดข้อจํากัดความลาดชัน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่พบในสภาพพื้นที่ที่มี

                     ความลาดชันมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ (slope C D และ E) มีเนื้อที่ 269,935 ไร่ หรือร้อยละ 12.52 ของพื้นที่
                     ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
                                         (6) กลุ่มชุดดินที่ติดข้อจํากัดมีการทําคันดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 31b 31Bb 35b 35Bb

                     36b 36Bb 40b 40Bb 41b 41Bb 44Bb 55b 55Bb และ 56b เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต มีเนื้อ
                     ที่ 47,919 ไร่ หรือร้อยละ 2.22 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                                      2. ผลการคาดการณ์ผลผลิตด้วยแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  หลังการ
                     แก้ไขข้อจํากัด


                                      หลังจากการแก้ไขข้อจํากัดของดิน โดยมีการแก้ไขแฟ้มข้อมูลดินในแบบจําลองการปลูกพืช
                     PLANTGRO เรื่องของปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และการถ่ายเทอากาศ เนื่องจากปัจจัยของดิน
                     เหล่านี้เป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ง่าย โดยการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรและการยกร่องหรือการทําคันดิน จึงได้ทําการแก้ไข

                     ในแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO เพื่อเป็นการจําลองเหตุการณ์เหมือนการจัดการดิน และเพิ่มธาตุอาหาร
                     ของเกษตรกร ทําให้ผลหลังจากการแก้ไขข้อจํากัดของดิน สามารถยกระดับความเหมาะสมของดิน และเพิ่ม
                     ผลผลิตของมันสําปะหลังได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับความเหมาะสม ข้อจํากัดและผลผลิตคาดการณ์
                     จากโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO (ตารางที่ 36 และภาพที่ 11) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                                      1) กลุ่มที่มีความเหมาะสมดี มีเนื้อที่ 226,620 ไร่ หรือร้อยละ 10.51 ของพื้นที่

                     ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 36 ติดข้อจํากัดความจุแลกเปลี่ยนแคต
                     ไอออนมีผลผลิตอยู่ในช่วง 5.33-5.53 ตันต่อไร่

                                      2) กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีเนื้อที่ 927,067 ไร่ หรือร้อยละ 42.98 ของพื้นที่
                     ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 35 37 38 40 41 และ 44 มีผลผลิตอยู่ในช่วง
                     2.79-5.33 ตันต่อไร่ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามข้อจํากัดสูงสุดของกลุ่มชุดดิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                                         (1) กลุ่มชุดดินที่ติดข้อจํากัดการถ่ายเทอากาศ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 37 มีผลผลิตอยู่

                     ในช่วง 3.79-5.35 ตันต่อไร่ มีเนื้อที่ 4,264 ไร่ หรือร้อยละ 2.20 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
                                         (2) กลุ่มชุดดินที่ติดข้อจํากัดความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 35
                     40 41 และ 44 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 2.79-5.28 ตันต่อไร่ มีเนื้อที่ 920,856 ไร่ หรือร้อยละ 42.69 ของพื้นที่
                     ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                                         (3) กลุ่มชุดดินที่ติดข้อจํากัดปฏิกิริยาดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 38 มีผลผลิตอยู่ในช่วง
                     5.12-5.33 ตันต่อไร่ มีเนื้อที่ 1,947 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา

                                      3) กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา มีเนื้อที่ 672,165 ไร่ หรือร้อยละ 31.17 ของพื้นที่
                     ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 4 7 7hi 15 17 18 19 20hi 22 29 31 33 46

                     47 48 49 52 54 55 56 และ 60 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 0.82-3.21 ตันต่อไร่ โดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ตาม
                     ข้อจํากัดสูงสุดของกลุ่มชุดดิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121