Page 114 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 114

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          83


                                8.2.2 การคาดการณ์ผลผลิตตามกลุ่มดินโดยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
                     ภายใต้สถานการณ์การจําลองก่อนแก้ไขข้อจํากัดดินและหลังแก้ไขข้อจํากัดดิน

                                      ผลการคาดการณ์ผลผลิตด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ซึ่งดําเนินการ

                     ภายใต้สถานการณ์จําลองที่กําหนดขึ้น 2  แบบ ได้แก่ 1. ก่อนแก้ไขข้อจํากัดดินและ 2. หลังแก้ไขข้อจํากัดดิน
                     โดยการคาดการณ์ภายหลังแก้ไขข้อจํากัดดินใช้วิธีแก้ไขข้อมูลนําเข้าในแฟ้มข้อมูลดิน ซึ่งแก้ไขเฉพาะค่า
                     สมบัติทางเคมีดินที่เป็นปัจจัยที่ง่ายต่อการจัดการ ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

                     ส่วนการถ่ายเทอากาศของดิน เป็นการแก้ไขสมบัติดินทางกายภาพในโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
                     จะทําให้ดินมีสมบัติด้านการถ่ายเทอากาศที่ดีขึ้น โดยกําหนดให้สามารถแก้ไขค่าการถ่ายเทอากาศของแฟ้มข้อมูลดิน
                     ที่มีชั้นการถ่ายเทอากาศในระดับต่ํากว่า ระดับ 5 ลงไป (การถ่ายเทอากาศไม่ค่อยดี; imperfect) ให้สามารถปรับ
                     ค่าขึ้นมาที่ระดับ 5 ได้ ถึงแม้จะมีการแก้ไขข้อจํากัดดินโดยวิธียกร่องและทําคันกั้นน้ําก็ตาม

                                      1. ผลการคาดการณ์ผลผลิตด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO

                     ก่อนการแก้ไขข้อจํากัด
                                      จากการสร้างหน่วยจําลองการผลิตและจําลองการปลูกพืช PLANTGRO พบกลุ่มชุดดิน

                     ในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ําขัง ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 1 4 7 7hi 15 17 18 19 20 20hi และ 22 ซึ่งเป็นกลุ่มชุดดิน
                     ในพื้นที่ลุ่มและกลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มที่พบในพื้นที่ค่อนข้างดอน (7hi และ 20hi) เป็นดินมีการระบายน้ําเลว
                     มีน้ําแช่ขังในฤดูฝน ดินมีสีเทาหรือสีน้ําตาลปนเทา มีจุดประสีน้ําตาล สีเหลือง สีแดง ส่วนใหญ่เหมาะสําหรับ

                     ทํานา ไม่เหมาะสําหรับเพาะปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น ในสภาพพื้นที่ที่พบกลุ่มชุดดินนี้ มันสําปะหลัง
                     จะไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการจัดระดับความเหมาะสมของกลุ่มชุดดิน
                     ซึ่งจัดอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม โดยที่กลุ่มชุดดินในที่ลุ่มจะติดข้อจํากัดในเรื่องของการถ่ายเทอากาศและ
                     เนื้อดิน จึงไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และถึงแม้จะแก้ไขในข้อจํากัดของการถ่ายเทอากาศของดิน ซึ่ง

                     ทําได้โดยการยกร่องนั้น ทําได้ยากและไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน เพราะเมื่อทําการแก้ไขข้อจํากัดดังกล่าวโดยใช้
                     แบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO แล้วนั้น ผลผลิตคาดการณ์ที่ได้ ยังมีค่าผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ํา จึงไม่
                     แนะนําให้ปลูกมันสําปะหลังในกลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่ม  กลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่ดอน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28
                     29 31 33 35 36 37 38 40 41 44 46 47 48 49 52 54 55 56 และ 60 เป็นดินการระบายน้ําดี สีน้ําตาล

                     สีเหลือง สีแดง มีทั้งดินตื้นและดินลึก ส่วนใหญ่เหมาะสมสําหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น ซึ่งผลการ
                     คาดการณ์ผลผลิตด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ตามระดับความเหมาะสมจากข้อจํากัด
                     รุนแรงสูงสุด และผลผลิตคาดการณ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม (ตารางที่ 35 และภาพที่ 10) ดังนี้

                                      1) กลุ่มที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีเนื้อที่ 852,135 ไร่ หรือร้อยละ 39.51 ของพื้นที่

                     ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 36 ติดข้อจํากัดฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มี
                     ผลผลิตอยู่ในช่วง 4.29-5.29 ตันต่อไร่ มีเนื้อที่ 625,515 ไร่ หรือร้อยละ 29.00 ของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง
                     จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มชุดดินที่ 40 ติดข้อจํากัดความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส
                     มีผลผลิตอยู่ในช่วง 3.94-5.28 ตันต่อไร่ มีเนื้อที่ 226,620 ไร่ หรือร้อยละ 10.51 ของพื้นที่ปลูกมัน
                     สําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา


                                      2) กลุ่มที่มีความเหมาะสมต่ํา มีเนื้อที่ 908,642 ไร่ หรือร้อยละ 42.13 ของพื้นที่
                     ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 29 31 33 35 37 38 41 44 46 47 48 49 52
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119