Page 18 - ระบบตัวแทนการให้บริการเว็บไซต์หน่วยงานสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต (Reverse Proxy)
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2-6




                                  ข้อเสียของ Nginx
                                    -  การ config ที่ค่อนข้างจะยุ่งยากกว่า Apache เนื่องจากการออกแบบที่ค่อนข้าง
                  ต้องการประสิทธิภาพที่สูงทําให้ต้องตัดการประมวลผลที่เป็นด้วยตัวเองออกไป แล้วไปให้โปรเซสอื่นหรือระบบ

                  อื่นจัดการประมวลผลแบบ Dynamic ให้แทน เช่น FastCGI, SCGI, uWSGI, memcache
                                    -  การบํารุงรักษายากกว่า Apache เนื่องจาก Nginx ได้มีการออกแบบให้เป็นโมดูล
                  เช่นกันแต่ไม่ได้ยืดหยุ่นมาก ถ้าจะต้องการเพิ่มหรือแก้ไขโมดูลต่าง ๆ จะไม่ค่อยสะดวก
                                    -  การเอาไปทํางานได้หลายแพลตฟอร์ม ยังพอร์ตไปไม่ครบนัก ติดตั้งไม่ง่ายนัก การ
                  ทํางานร่วมกับองค์ประกอบอื่นยังต้องตั้งค่าอีกเยอะ ต่างกับ Apache ที่พอร์ตไปทุกที่ได้ง่ายกว่า (เว็บเซิร์ฟเวอร์

                  และเอนจิ้นเอ็ก, ออนไลน์)


                  2.4  ด้านการจัดการพร็อกซี่ (Proxy)

                           พร็อกซี่เป็นเครื่องมือในการควบคุมทราฟฟิค (traffic) ชนิดหนึ่ง ซึ่งทํางานที่ระดับของแอพพลิเคชั่น
                  ในลักษณะที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์ โดยทําหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีการสื่อสาร
                  โดยตรงระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์ แต่ยังคงให้ไคลเอนต์สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นบนเซิร์ฟเวอร์ได้
                  ตามปกติ และผู้ใช้ซึ่งใช้งานแอพพลิเคชั่นนั้น ๆ จะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

                           2.4.1  ลักษณะการทํางาน
                                  โดยปกติทั่วไปแล้วการสื่อสารระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์นั้น จะต้องมีการเชื่อมต่อหรือ
                  คอนเน็คชั่น (Connection) เกิดขึ้นระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์อยู่ตลอดเวลาที่สื่อสารกันอยู่ จุดสําคัญอยู่
                  ตรงที่การที่เชื่อมต่อโดยตรงนั้นจะมีความเสี่ยงหลายประการตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น จึงมีการนํา Proxy

                  เข้ามาก่อน
                                  หน้าที่ในการทํางานของพร็อกซี่ คือ เป็นตัวกลางรับข้อมูลจากไคลเอนต์มาแล้วทําการส่ง
                  ต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ และรับข้อมูลที่ตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์กลับมายังไคลเอนต์ที่ทําการร้องขอ และจะทําหน้าที่
                  นี้อยู่ตลอดเวลาที่ไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์นั้นติดต่อกัน ซึ่งการที่มีพร็อกซี่มาเป็นตัวกลางระหว่างไคลเอนต์กับ

                  เซิร์ฟเวอร์นั้น ทําให้โฮสต์ทั้งคู่ไม่จําเป็นต้องติดต่อกันโดยตรง เพียงแค่ติดต่อกับตัวกลางคือพร็อกซี่เท่านั้น และ
                  การทํางานของแอพพลิเคชั่นทั้งสองฝั่งยังคงทําได้เช่นเดิม
                           2.4.2  ขั้นตอนการนํา Proxy เข้ามาใช้งาน

                                  2.4.2.1 การเริ่มต้นทํางานของแอพพลิเคชั่นโดยทั่วไป เริ่มจากการที่แอพพลิเคชั่นบน
                  ไคลเอนต์ขอรับข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ตามโปรโตคอลในแอพพลิเคชั่นเลเยอร์ที่กําหนดไว้ เช่น เว็บบราวเซอร์กับ
                  เว็บเซิร์ฟเวอร์ จะใช้โปรโตคอล HTTP ในการสื่อสารระหว่างกัน
                                  2.4.2.2 เมื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้รับการขอข้อมูลจากบราวเซอร์แล้ว ก็จะตอบรับกลับไปและ
                  เริ่มการติดต่อสื่อสารกัน และทั้งฝั่งไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ก็จะทําการติดต่อสื่อสารกันตามที่โปรโตคอล HTTP

                  กําหนดจนจบการสื่อสารเซสชั่น (Session) นั้น อย่างไรก็ตามโปรโตคอล HTTP นั้นจะต้องอาศัย TCP ในการ
                  รับส่งข้อมูลระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์ นั่นหมายถึงไคลเอนต์จะต้องสามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ได้ด้วย
                  TCP เสียก่อน เนื่องจาก TCP เป็นโปรโตคอลเลเยอร์ที่อยู่ภายใต้ HTTP อีกเลเยอร์หนึ่ง ดังนั้นในสภาวะการ

                  ทํางานปกติของ HTTP บราวเซอร์จะต้องสามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยตรงเสมอ นั่นคือในสภาวะการทํางาน
                  ปกตินั้นแพ็คเก็ตของ TCP/IP จะต้องสามารถส่งถึงกันระหว่างโฮสต์ทั้งคู่ได้
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23