Page 13 - ระบบตัวแทนการให้บริการเว็บไซต์หน่วยงานสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต (Reverse Proxy)
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2-1




                                                           บทที่ 2

                                              แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


                           ในการพัฒนาระบบตัวแทนการให้บริการเว็บไซต์หน่วยงานสํานักงานพัฒนาที่ดินเขต จําเป็นต้องมี
                  ความรู้และทฤษฎีพื้นฐานเพื่อที่จะได้นํามาพัฒนาระบบให้เป็นไปตามความต้องการ ในบทนี้ จะกล่าวถึง วงจร

                  การพัฒนาระบบ และองค์ประกอบพื้นฐานในการจัดทําระบบตัวแทนการให้บริการเว็บไซต์หน่วยงานสํานักงาน
                  พัฒนาที่ดินเขต  ซึ่งประกอบด้วย  ด้านระบบปฏิบัติการ (Operation System) ด้านโปรแกรมอรรถประโยชน์
                  ด้านการจัดการเครื่องแม่ข่ายเสมือน (Virtualization)  ด้านการจัดการเซอวิสพร็อกซี่ (Proxy)  ด้านการจัดการ
                  ไฟร์วอลล์ (Firewall)  ด้านการจัดการเว็บไซต์และช่องโหว่ของเว็บไซต์ ด้านและการจัดการระบบเครือข่าย ที่มี

                  ส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ

                  2.1  ความหมายของวงจรพัฒนาบริหารงานคุณภาพ PDCA

                           PDCA  คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ย่อมาจาก 4 คํา ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ),
                  Check (ตรวจสอบ) และ Act (การดําเนินการให้เหมาะสม) ซึ่งวงจร PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับ
                  ทุก ๆ เรื่อง นับตั้งแต่กิจกรรมส่วนตัว เช่น การปรุงอาหาร การเดินทางไปทํางานในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมาย
                  ชีวิต และการดําเนินงานในระดับบริษัท ซึ่งรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมี ดังนี้
                           2.1.1  P = Plan (ขั้นตอนการวางแผน)

                                  ขั้นตอนการวางแผนครอบคลุมถึงการกําหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่ง
                  รวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ พร้อมกับพิจารณาว่ามีความ
                  จําเป็นต้องใช้ข้อมูลใดบ้างเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนั้น โดยระบุวิธีการเก็บข้อมูลและกําหนดทางเลือกใน

                  การปรับปรุงให้ชัดเจน ซึ่งการวางแผนจะช่วยให้กิจการสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลด
                  ความสูญเสียต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งในด้านแรงงาน วัตถุดิบ ชั่วโมงการทํางาน เงิน และเวลา
                           2.1.2  D = Do (ขั้นตอนการปฏิบัติ)
                                  ขั้นตอนการปฏิบัติ คือ การลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กําหนดไว้ใน

                  ขั้นตอนการวางแผน ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องมีการตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติด้วยว่าได้ดําเนินไปในทิศทางที่ตั้งใจ
                  หรือไม่ เพื่อทําการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามแผนการที่ได้วางไว้
                           2.1.3  C = Check (ขั้นตอนการตรวจสอบ)
                                  ขั้นตอนการตรวจสอบ คือ การประเมินผลที่ได้รับจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้

                  ทราบว่า ในขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้หรือไม่ แต่สิ่งสําคัญก็
                  คือ ต้องรู้ว่าจะตรวจสอบอะไรบ้างและบ่อยครั้งแค่ไหน เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบเป็นประโยชน์
                  สําหรับขั้นตอนถัดไป
                           2.1.4  A = Action (ขั้นตอนการดําเนินงานให้เหมาะสม)

                                  ขั้นตอนการดําเนินงานให้เหมาะสมจะพิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี
                  คือ ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ หากเป็นกรณีแรก ก็ให้นําแนวทางหรือ
                  กระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทําให้เป็นมาตรฐาน พร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งอาจ

                  หมายถึง สามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิม หรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิม หรือทําให้คุณภาพดียิ่งขึ้นก็ได้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18