Page 8 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรดินเป็นปัจจัยส าคัญในการผลิตทางการเกษตร แต่ในปัจจุบันทรัพยากรดินใน
ประเทศไทยได้เสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินเพื่อการเพาะปลูก
อย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากการปรับปรุงและการอนุรักษ์ที่เหมาะสมและดีพอมาเป็นระยะเวลานาน
จึงท าให้ทรัพยากรดินเสื่อมทั้งคุณภาพและความเหมาะสมในการเพาะปลูก ตลอดทั้งการเพิ่มผลผลิต
ทางการเกษตรในอดีตมุ่งเน้นการขยายพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ควรจะสงวนไว้เป็นพื้นที่ปุาไม้ เป็นเหตุ
ให้ทรัพยากรปุาไม้ถูกท าลายเป็นอันมาก ในสภาวะปัจจุบันวิธีการดังกล่าวไม่สามารถด าเนินการต่อไป
ได้อีก จึงจ าเป็นต้องปรับปรุงหรือพัฒนาทรัพยากรดินที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอยู่แล้วให้มี
ความสามารถในการผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความจ าเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรดินที่
มีมีปัญหาในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้มีความเหมาะสม และสามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
เนื่องจากทรัพยากรดินที่มีความเหมาะสมทางการเกษตรมีจ านวนจ ากัดและบางส่วนได้น าไปใช้
ประโยชน์เพื่อกิจการอื่น อีกทั้งการท าการเกษตรกรรมในปัจจุบันได้มีการน าปุ๋ยเคมี สารเคมีเข้ามาใช้
ในการเกษตรท าให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม และการใช้ที่ดินท าการเกษตรติดต่อกันเป็นเวลานาน และ
เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ที่ดินและการจัดการดินที่เหมาะสม ท าให้ปัญหาเกิดความ
รุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงกับความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงจ าเป็นต้องมีการ
จัดการดินที่เหมาะสมโดยเร่งด่วนและมีแผนการด าเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการวิธีการต่าง ๆ
เข้าด้วยกัน และเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของ
ทรัพยากรดิน จ าเป็นต้องท าการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากรดินแต่ละชนิด ทั้ง
ทางด้านกายภาพ สมบัติทางเคมี และสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับดิน ตลอดจนปัญหาหรืออุปสรรคในการ
ใช้ประโยชน์ทรัพยากรดิน รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดกับดินแต่ละชนิดแต่ละกลุ่ม โดยการเพิ่ม
พื้นที่เกษตรอินทรีย์ลดการน าเข้าสารเคมี
กรมพัฒนาที่ดิน มีภารกิจหลักในการด าเนินงานส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี
ทางการเกษตรและเกษตรอินทรีย์ โดยให้ความส าคัญในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตที่พึ่งพาการใช้
ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรจากต่างประเทศมาเป็นการพึ่งพาตนเองในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และ
สารอินทรีย์เพื่อใช้เองภายในไร่นาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยกรมพัฒนาที่ดินได้ด าเนิน
กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการ
เกษตร โครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน และอบรมหมอดินอาสา โดยมีการจัดอบรม สาธิต การผลิต
และการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน ได้แก่ สารเร่ง พด. ต่าง ๆ พืชปุ๋ยสด หญ้า
แฝก ให้กับครูและนักเรียน รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์การเกษตร เพื่อน าความรู้ไปใช้เกษตรอินทรีย์ใน
โรงเรียน รวมทั้งมีการฝึกอบรมวิทยากรระดับพื้นที่ หมอดินอาสา ยุวหมอดิน ประธานกลุ่มเกษตรกร
ใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร กลุ่มผู้บริหารโรงปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อท าหน้าที่เป็นวิทยากร
โดยน าองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดขยายผล