Page 11 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 2
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดปัตตานีมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาช้านานในฐานะหัวเมืองฝ่าย
ใต้ปลายแหลมมลายูตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมโลกไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1991-2031)
และเป็นหนึ่งในจังหวัดภาคใต้ชายแดนที่มีความส าคัญในฐานะเมืองท่า เนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่
เหมาะสม ตั้งอยู่ติดทะเลและมีอ่าวไทยที่สามารถก าบังคลื่นได้ ปัตตานีจึงเป็นสถานที่แวะพักจอดเรือ
เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออก
ปัตตานีถูกจัดให้เป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่งของประเทศไทย วิถีชีวิตของชาวปัตตานีเกี่ยวข้องกับทะเล
ท าให้การประมงและการท าการเกษตร กลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักให้กับประชาชนในจังหวัด
2.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด
ประมาณ 1,940.35 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,212,722 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.7 ของพื้นที่ภาคใต้ และ
ร้อยละ 0.37 ของพื้นที่ประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 1,055
กิโลเมตร
ต าแหน่งที่ตั้ง
ละติจูด 6 องศา 32 ลิปดา 48 ฟิลิปดาเหนือ ถึงละติจูด 6 องศา 56 ลิปดา 48 ฟิลิปดาเหนือ
ลองจิจูด 101 องศา ลิปดา 18 ฟิลิปดาตะวันออก ถึงลองจิจูด 101 องศา 45 ลิปดา 15 ฟิลิปดา
ตะวันออก
ขอบเขตของจังหวัด
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับ อ าเภอเมืองยะลา อ าเภอรามัน จังหวัดยะลา
และเขตอ าเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ าเภอเทพา และอ าเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา