Page 34 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
2.4.2 ปัญหาข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดการ
2.4.2.1 ปัญหาเรื่องดิน
1) ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า ทรัพยากรดินบางพื้นที่ของจังหวัดปัตตานีเกิดจาก
วัตถุต้นก าเนิดดินที่เป็นดินทรายหรือตะกอนเนื้อหยาบวัตถุต้นก าเนิดดินเหล่านี้มีธาตุอาหารที่เป็น
ประโยชน์ต่อพืชต่ า เนื้อดินเป็นดินปนทรายหรือดินทราย มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารต่ า
และถูกชะพาลงไปในดินชั้นล่างหรือออกไปจากพื้นที่ได้ง่าย ท าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ได้แก่
หน่วยแผนที่ 6 10 14 16 17 22 23 26 26B 26C 26D 32S 34 34B 34C 39 39B 39C 42 43 45C
50B 51B 51C 53 53B 53C 58 50C/51 C50D/51D มีเนื้อที่ประมาณ 842,047 ไร่ หรือร้อยละ
69.43 ของพื้นที่
แนวทางแก้ไข การใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณนี้ ควรมีการปรับปรุงบ ารุงดินโดยการ
เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ เช่นปุ๋ยหมัก อัตรา 1-4 ตันต่อไร่ ปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่หรือปุ๋ยพืชสด
อัตรา 5-10 กก.ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก เพื่อช่วยปรับปรุงบ ารุงดิน เพิ่มผลผลิตและ
รักษาความสามารถในการผลิตของดินไม่ให้เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ท าให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่าง
ยั่งยืน
2) ดินทรายจัด ดินทรายจัดจะมีความสามารถในการอุ้มน้ าและดูดซับธาตุอาหารต่ า
ถึงต่ ามาก ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูญเสียไปในดินชั้นล่างหรือออกไปนอกพื้นที่ได้ง่าย เมื่อมี
การให้น้ าหรือมีฝนตก ดินง่ายต่อการกัดกร่อน ท าให้เกิดเป็นร่องลึกและกว้าง ขาดแคลนน้ า ได้แก่
หน่วยแผนที่ 23 32S 42 43 มีเนื้อที่ประมาณ 170,886 ไร่ หรือร้อยละ 14.10 ของพื้นที่
แนวทางแก้ไข การใช้ประโยชน์ของพื้นที่บริเวณนี้ ควรเลือกชนิดพืชที่มีศักยภาพ
เหมาะสมมาใช้ปลูก เพื่อลดต้นทุนในการผลิต มีการปรับปรุงบ ารุงดินร่วมกับมีระบบอนุรักษ์ดินและ
น้ า เช่นปุ๋ยหมักอัตรา 1-4 ตันต่อไร่ ปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ หรือปุ๋ยพืชสด อัตรา 5 -10 กก.ต่อไร่
ร่วมกับปุ๋ยเคมี และใช้วัสดุคลุมดิน ท าคันดิน ปลูกหญ้าแฝกหรือปลูกพืชเป็นแถบสลับ พัฒนาแหล่งน้ า
ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดแคลนน้ า การใช้ปุ๋ยเคมีควรใช้ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร
ลงไปในชั้นดินล่างก่อนที่พืชจะน าไปใช้ได้
3) ดินตื้น ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง เศษหิน ก้อนหินปะปนอยู่ในเนื้อดินตั้งแต่ร้อยละ 35
หรือมากกว่าโดยปริมาตร ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือมีชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50
เซนติเมตรจากผิวดิน ดินตื้นจะเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชลงไปหาอาหาร นอกจากนี้ยังมี
ส่วนที่เป็นดินน้อยท าให้มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและอุ้มน้ าต่ า พืชจะขาดน้ า ได้แก่
หน่วยแผนที่ 45C 51B 51C 50C/51C 50D/51D มีเนื้อที่ประมาณ 25,097 ไร่ หรือร้อยละ 2.05 ของ
พื้นที่
แนวทางแก้ไข เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนาและไม่มีเศษหินหรือก้อนหินบริเวณหน้าดิน
มาก เพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการเกษตรกรรมและการดูแลรักษา โดยการท าการเกษตรแบบวน
เกษตรหรือเกษตรแบบผสมผสาน ขุดหลุมปลูก พร้อมปรับปรุงดินด้วยอัตราปุ๋ยหมัก 25-50 กิโลกรัม
ต่อหลุม หรือปุ๋ยคอกอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อหลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดของพืช มีระบบอนุรักษ์ดิน
และน้ า เช่น ใช้วัสดุคลุมดินหรือปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและลดการกร่อนของดิน พัฒนา