Page 49 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       36







                              ส่วนการเปรียบเทียบปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ในดินก่อนปลูกและดิน
                       หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตของแปลงปลูกหอมแบ่ง พ.ศ. 2558 พบว่าในต ารับการทดลองที่ 1-5 มีปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ในดินหลังเก็บเกี่ยวมีค่าลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูก
                       ส่วนในต ารับการทดลองที่ 6 ปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ยังอยู่ในระดับที่สูงมาก ดัง

                       ตารางที่ 12 และตารางที่ 13
                              ดังนั้น ในต ารับการทดลองที่ 6 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ และปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ยังอยู่ในระดับที่สูงมาก ทั้งในดินก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
                       ผลผลิต สามารถกล่าวได้ว่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ และปริมาณโพแทสเซียมที่

                       สามารถแลกเปลี่ยนได้ไม่ผันแปรตามอัตราการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสโพแทสเซียม สอดคล้องกับรายงาน
                       ของปวีณา (2551) ที่ได้ศึกษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและการจัดการปุ๋ยเคมีอย่าง
                       เหมาะสมในการปลูกผักบนพื้นที่สูง พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับสูงมาก (>100 mg P/kg และ >300 mg K/kg)

                       และใช้พื้นที่ดังกล่าวท าการทดลองการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยเคมี
                       แบบต่าง ๆ ผลการทดลองพบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยในอัตราที่ได้จากการประเมินปริมาณธาตุอาหารที่มี
                       อยู่ในดินร่วมกับปริมาณธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในผลผลิตผัก ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากวิธีการใส่ปุ๋ย

                       N, P และ K ตามอัตราของศูนย์/สถานีและเกษตรกร แต่วิธีการใส่ปุ๋ยดังกล่าวสามารถลดต้นทุน
                       การใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 63–95 % ของต้นทุนการผลิตของวิธีการใส่ปุ๋ย N, P และ K


                                                   ก่อนปลูก     หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต


                           7.0       6.06.0                             6.1 6.1     6.1        6.06.0
                                                5.9 5.8     6.0  5.9                    6.0

                           6.0
                           5.0
                        pH  4.0
                           3.0

                           2.0
                           1.0
                           0.0
                                      1           2          3           4          5           6


                                                            ต ารับการทดลอง

                       ภาพที่ 7  เปรียบเทียบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ของดินก่อนปลูกและหลังเก็บเกี่ยว

                                  ผลผลิตของแปลงปลูกหอมแบ่ง พ.ศ. 2558
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54