Page 48 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       35







                                     2) ดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
                                     ในด้านดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตหอมแบ่ง   พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างมีค่าลดลง
                       จากดินก่อนการทดลองในต ารับการทดลองที่ 1-5 ซึ่งอยู่ในช่วง 5.8-6.0 ซึ่งจัดอยู่ในระดับกรดปาน
                       กลาง  ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าลดลงจากก่อนการทดลองในต ารับการทดลองที่ 1-5 โดยมี

                       ค่าอยู่ในช่วง 2.0–2.2 เปอร์เซ็นต์  อยู่ในระดับปานกลาง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินหลัง
                       เก็บเกี่ยวผลผลิตลดลงในต ารับการทดลองที่ 1 และ 2 คือมีค่า 887 และ 707 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                       ตามล าดับ แต่ในต ารับการทดลองที่ 3, 4 และ 5  มีค่าเพิ่มขึ้น โดยมีค่า 917, 847 และ 957
                       มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตมี

                       ค่าลดลงในต ารับการทดลองที่ 1-5 โดยต ารับการทอลองที่ 1,  2, 3, 4  และ 5  คือมีค่า 250, 256,
                       325, 275 และ  263  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ส าหรับต ารับการทดลองที่ 6 ซึ่งวิเคราะห์ดิน
                       ด้วยชุดตรวจดินภาพสนาม กรมพัฒนาที่ดิน พบว่า ความเป็นกรดเป็นด่าง มีค่า 6.0 ซึ่งจัดอยู่ในระดับ
                       เป็นกรดปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน เท่ากับ 2.0 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระดับปานกลาง  ปริมาณ

                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช มีมากกว่า 45 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับสูงมาก  และปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้  มีค่ามากกว่า 120  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับสูงมาก ดัง
                       ตารางที่ 13


                       ตารางที่ 13  ผลวิเคราะห์สมบัติบางประการของดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแปลงหอมแบ่ง พ.ศ. 2558


                        ต ารับ   N-P O -K O      pH      Organic Matter  Available P  Exchangeable K
                                    2 5 2
                         ที่       (kg/rai)                    (%)           (mg/kg)         (mg/kg)
                          1      0 - 0 - 0       6.0           2.1             887             250

                          2    20 - 11 - 11      5.8           2.1             707             256
                          3      15 - 5 - 5      5.9           2.2             917             325

                          4     14.2 - 0 - 0     6.1           2.0             847             275
                          5     19.1 - 0 - 0     6.0           2.2             957             263

                          6      15 - 5 - 5      6.0           2.0             >45            >120



                              จากการเปรียบเทียบปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ ในดินก่อนปลูกและหลังเก็บเกี่ยว
                       ผลผลิตของแปลงปลูกหอมแบ่ง พ.ศ. 2558 พบว่า ในต ารับการทดลองที่ 1 และ 2 ดินหลังเก็บเกี่ยวมี

                       ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูก ส่วนในต ารับการทดลองที่
                       3, 4 และ 5  ดินหลังเก็บเกี่ยวมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดิน
                       ก่อนปลูก จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส เพราะการเพิ่มขึ้นของฟอสฟอรัสใน
                       ดินไม่ผันแปรตามอัตราการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ดังตารางที่ 12 และตารางที่ 13
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53