Page 62 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       52







                       ท าการฉีดพ่นด้วยน้ าสกัดจากสมุนไพรขับไล่แมลง ซึ่งในรอบ 1 ปีเกษตรกรมีการปลูกข้าวอินทรีย์ 1
                       ครั้ง และเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้แรงงานคนเกี่ยวและนวดข้าว คิดเป็นร้อยละ 48.99 แหล่งที่ขาย
                       ผลผลิตและโรงสีที่ใช้ส าหรับสีข้าวเป็นโรงสีกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่มอินทรีย์ 10 กลุ่มของจังหวัด
                       ยโสธร ส าหรับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่เกษตรกรไถกลบตอซังพร้อมหว่านพืชตระกูลถั่ว

                       ปรับปรุงบ ารุงดิน นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรมีสมาชิกในครัวเรือนประมาณ 1-3 คน และมีพื้นที่นา
                       เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 10-20 ไร่ ซึ่งจะปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ประมาณ 5-10 ไร่
                       ส่วนลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย และมีกระบวนการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นระบบ
                       เกษตรอินทรีย์ที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความปลอดภัยต่อ

                       ผู้บริโภค
                              5.1.3 ศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ใน
                       เขตพื้นที่จังหวัดยโสธร
                                     สภาพทั่วไปของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง

                       40-49 ปี มีสถานภาพสมรส และส าเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา โดยแต่ละครัวเรือนมีสมาชิก
                       ประมาณ 1-3 คนต่อครัวเรือน และมีแรงงานส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าครอบครัว และสมาชิกที่อาศัยใน
                       ครัวเรือน โดยมีพื้นที่ที่ผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ประมาณ 10-20 ไร่ ส่วนใหญ่มีลักษณะการ

                       ถือครองที่ดินของเกษตรกรเป็นของครอบครัว ในรอบปีที่ผ่านมาเกษตรกรมีรายได้ที่เป็นเงินสดในภาค
                       เกษตรประมาณ 50,001-100,000 บาทต่อครัวเรือน และนอกภาคเกษตรประมาณ 30,000-50,000
                       บาทต่อครัวเรือน และเกษตรกรมีหนี้สินนอกระบบประมาณ 40,000 บาทต่อปีต่อครัวเรือน การได้รับ
                       ความรู้ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเกษตรกรเคยเข้ารับการอบรม
                       หลักสูตรการผลิตข้าวอินทรีย์ปีละ 1 ครั้ง จากสถานีพัฒนาที่ดินยโสธรและส านักงานเกษตรจังหวัด

                       ยโสธร ส่วนเครื่องจักรกลทางการเกษตร คือ รถไถนาเดินตาม และมีแหล่งน้ าที่ใช้ในการเพาะปลูก
                       อาศัยน้ าฝน และเกษตรกรมีประสบการณ์การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ตั้งแต่ 4-6 ปีขึ้นไป


                       5.2 ข้อเสนอแนะ
                              5.2.1 เกษตรกรควรมีการตั้งเป้าหมายในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ เพื่อจะได้
                       ทราบถึงปริมาณที่ใช้ส าหรับบริโภค และส่วนที่ใช้ในการบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจ าหน่าย
                              5.2.2 เกษตรกรควรมีการเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตอื่นๆ และเพิ่มรายได้ ลดความ

                       เสี่ยงในพื้นที่แปลงเกษตรให้เต็มประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพฤดูกาล เช่น การปลูกพืชก่อน
                       และหลังนา รวมทั้งการปศุสัตว์ควบคู่ไปด้วย
                              5.2.3 ควรศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ที่
                       จะเป็นอาชีพหลักและความยั่งยืนในการผลิต เกษตรกรมีความมั่นคงทางความคิดในการท าเกษตร

                       อินทรีย์ไม่ผลิตตามกระแสเพื่อขยายพื้นที่หรือเพิ่มจ านวนเกษตรกรที่ท าการผลิตข้าวในระบบเกษตร
                       อินทรีย์ให้มากขึ้น
                              5.2.4 เกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มกันผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ โดยท าเป็นแบบ
                       เกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67