Page 30 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
มะม่วง ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 20-50 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ
ปุ๋ยสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชใกล้เคียงกัน จ านวนกิโลกรัมของปุ๋ยเคมีที่ใส่ ต้นต่อปี เท่ากับครึ่งหนึ่งของ
อายุมะม่วง ใส่ทุก ๆ ปี ๆ ละ 2 ครั้ง ในตอนต้น และปลายฤดูฝนให้ใส่เป็นจุดรอบรัศมีทรงพุ่มส่วนปุ๋ย
คอกให้โรยรอบรัศมีทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบ
ขนุน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ตอนต้นฤดูฝน และปุ๋ย
สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ช่วงปลายฝนและควรใส่ปุ๋ยคอกทุกปี อัตรา 20-30
กิโลกรัมต่อต้น โดยใส่รอบรัศมีทรงพุ่ม
2.4.2 กลุ่มชุดดินที่ 62 เนื้อที่ 315.20 ไร่ หรือร้อยละ 53.35 ของพื้นที่โครงการ
เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนที่มีความลาดชัน
มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่บริเวณนี้ยังไม่มีการศึกษา ส ารวจและจ าแนกดิน เนื่องจากสภาพพื้นที่มี
ความลาดชันสูง ซึ่งถือว่ายากต่อการจัดการดูแลรักษา ส าหรับการเกษตร มีความลาดชันสูงมาก ใน
พื้นที่ท าการเกษตรจะเกิดการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินอย่างรุนแรง ขาดแคลนน้ าและบางพื้นที่
อาจพบชั้นหินพื้นหรือเศษหินกระจัดกระจายอยู่บริเวณหน้าดิน
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : พื้นที่ภูเขาลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีการ
กัดกร่อนของดินได้ง่าย
ความเหมาะสมของดินส าหรับการปลูกพืช : ดินกลุ่มที่ 62 ในกรณีที่จ าเป็นต้อง
น ามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จ าเป็นต้องมีการศึกษาดินก่อน เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสมของ
ดินส าหรับการปลูกพืช โดยมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงอนุรักษ์หรือวนเกษตร ในบริเวณพื้นที่ที่เป็น
ดินลึกและสามารถพัฒนาแหล่งน้ าได้ มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวรั้วหญ้า
แฝกและขุดหลุมปลูกเฉพาะต้น โดยไม่มีการท าลายไม้พื้นล่างส าหรับในพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพทาง
การเกษตร ควรรักษาไว้ให้เป็นสวนป่า สร้างสวนป่าหรือใช้ปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว