Page 36 - โครงการ 60 พรรษา สยามบรมราชกุมารี 60 เขตปฐพีพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยฝ่าย-ห้วยสะท้อน (ศก.7) ลุ่มน้ำสาขา แม่น้ำมูล ส่วนที่ 3 ลุ่มน้ำหลัก แม่น้ำมูล อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       21







                         ชนิดของพืช และความต้องการการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirements) ดังนั้นคุณภาพ
                         ที่ดิน (Land Qualities) ที่น ามาใช้มีดังนี้
                                       1)  ระบบอุณหภูมิ (Temperature  regime:  t)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                         ตัวแทน ได้แก่ ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูกเพราะอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการงอกของเมล็ด ต่อการออก

                         ดอกของพืชบางชนิด และมีส่วนสัมพันธ์กับขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ
                         เจริญเติบโตของพืช
                                       2) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability: m) คุณลักษณะที่ดินที่
                         เป็นตัวแทน ได้แก่ ระยะเวลาการท่วมขังของน้ าในฤดูฝน ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยในรอบปีหรือความ

                         ต้องการน้ าในช่วงการเจริญเติบโตของพืช และลักษณะของเนื้อดิน ซึ่งมีผลทางอ้อมในเรื่องความจุใน
                         การอุ้มน้ าที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                                       3)  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen  availability:  o)
                         คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ สภาพการระบายน้ าของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วๆ ไป ราก

                         พืชต้องการออกซิเจนในขบวนการหายใจ
                                       4)  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient  availability:  s)
                         คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน

                                       5) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions: r) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                         ตัวแทน ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับน้ าใต้ดิน และชั้นการหยั่งลึกของราก โดย
                         ความยากง่ายต่อการหยั่งลึกของรากในดินมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะเนื้อดิน โครงสร้างของดิน
                         การเกาะตัวของดิน และปริมาณกรวดหรือเศษหินที่พบในหน้าตัดดิน
                                       6) ความเสียหายจากน้ าท่วม (Flood hazard: f) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน

                         ได้แก่ จ านวนครั้งที่น้ าท่วมในช่วงรอบปี
                                       7) การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts: x) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                         ได้แก่ ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช

                                       8)  ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (Potential  for  mechanization:  w)
                         คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณก้อนหิน และ
                         การมีเนื้อดินเหนียวจัด ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 นี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนโดยเครื่องจักร
                                       9)  ความเสียหายจากการกร่อน (Erosion  hazard:  e)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็น

                         ตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่
                               2.7.3 การจ าแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                                     หลักการของ FAO  Framework  ได้จ าแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น 2
                         อันดับ (Order) คือ อันดับที่เหมาะสม (Order S ; Suitability) และอันดับที่ไม่เหมาะสม (Order N

                         ; Not suitability) และจาก 2 อันดับที่ได้ แบ่งย่อยออกเป็น 4 ชั้น (Class) ดังนี้
                                 S1 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable)
                                 S2 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately suitable)
                                 S3 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally suitable)

                                 N  หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not suitable)
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41