Page 40 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                     27





                             7.1.3 สภาพภูมิอากาศและสมดุลน้ า

                                1) สภาพภูมิอากาศ
                                  จากสถิติภูมิอากาศ ณ สถานีตรวจวัดอากาศ จังหวัดพะเยา เฉลี่ย 13 ปี (พ.ศ. 2546-2558)
                  พื้นที่จังหวัดพะเยา จัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Tropical  savannah : Aw) ตามระบบ

                  การจ้าแนกภูมิอากาศของ Köppen โดยมีปริมาณน้้าฝนรวมทั้งปี 1,168.3 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์
                  เฉลี่ยตลอดปี 76.5 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 28.4 องศาเซลเซียส
                  และอุณหภูมิต่้าสุดเฉลี่ย 20.5 องศาเซลเซียส (ตารางที่ 7) สามารถแบ่งลักษณะภูมิอากาศออกเป็น 3
                  ฤดูกาล ได้แก่

                  ตารางที่ 7 สถิติภูมิอากาศ ณ สถานีตรวจวัดอากาศ จังหวัดพะเยา เฉลี่ย 13 ปี (พ.ศ. 2546-2558)

                            ปริมาณ   น้ าฝนที่ใช้ จ านวน  อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)   ความชื้น  ศักย์การคาย 0.5 ศักย์การ
                    เดือน    น้ าฝน  ประโยชน์  วันฝน     สูงสุด  ต่ าสุด  เฉลี่ย   สัมพัทธ์   ระเหยน้ า  คายระเหยน้ า
                             (มม)     (มม.) *   ตก                        (เปอร์เซ็นต์)   (มม.) *   (มม.) *
                  มกราคม      17.7      17.2     2       29.6  14.0   20.6     76.0      80.0       40.0
                  กุมภาพันธ์   4.3       4.3     1       32.7  15.8   23.3     67.8      94.4       47.2
                  มีนาคม      34.8      32.9     4       34.8  18.9   26.2     62.7     123.7       61.8
                  เมษายน      86.1      74.2     7       35.9  22.5   28.4     65.6     144.0       72.0
                  พฤษภาคม    171.5     124.4    14       34.0  23.5   27.9     75.4     136.7       68.4
                  มิถุนายน   111.7      91.7    13       33.1  24.1   27.9     78.0     120.3       60.2
                  กรกฎาคม    153.7     115.9    16       32.4  23.7   27.2     80.7     114.1       57.0
                  สิงหาคม    200.0     136.0    17       31.8  23.5   26.7     83.2     107.6       53.8
                  กันยายน    219.9     142.5    17       31.9  23.2   26.6     84.2     102.9       51.5
                  ตุลาคม     123.0      98.8     8       31.4  21.5   25.6     83.7      97.0       48.5
                  พฤศจิกายน   37.7      35.4     4       30.6  18.2   23.5     81.3      83.7       41.9
                  ธันวาคม      7.9       7.8     2       28.7  14.7   20.5     79.7      74.1       37.0
                    รวม     1,168.3    881.1   105          -     -     -         -    1,278.5     639.3
                    เฉลี่ย       -         -      -         -     -  25.4      76.5         -          -
                  ที่มา:กรมอุตุนิยมวิทยา (2558ข)
                  หมายเหตุ:* ค้านวณจากโปรแกรม CropWat4 Windows Ver 4.3

                                   ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพล
                  จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เดือนที่มีฝนตกหนักมากที่สุด คือ เดือนกันยายน ปริมาณฝนเฉลี่ย 219.9

                  มิลลิเมตร เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นที่พัดเข้ามาในช่วงดังกล่าว
                                   ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพล
                  จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งแล้ง เดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่้าสุด

                  14.0 องศาเซลเซียส
                                   ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ระยะนี้จะได้รับอิทธิพลจากลม
                  มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปจะสูงขึ้นท้าให้มีสภาพอากาศร้อนกว่าปกติ และจะร้อนมาก
                  ที่สุดในเดือนเมษายน โดยมีอุณหภูมิสูงสุด 35.9 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ อาจจะมีพายุโซนร้อนเกิดขึ้น
                  เนื่องจากอากาศเย็นจากประเทศจีนเคลื่อนตัวลงมาเป็นครั้งคราว ท้าให้เกิดปะทะกับอากาศร้อนเขตท้องถิ่น

                  เกิดเป็นแนวปะทะอากาศเย็น ท้าให้มีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นแต่มีฝนตกไม่นาน
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45