Page 34 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
7.1.2 สภาพภูมิประเทศ
เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าน้้าแม่อิงตอนบนเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) จังหวัดพะเยา อยู่สูงจาก
ระดับทะเลปานกลางประมาณ 392-1,435 เมตร พบว่า
พื้นที่ต้นน้ า เป็นพื้นที่ต้นน้้ามีลักษณะพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน แนวสันปันน้้า
เป็นพื้นที่ที่สูงเกิน 1,000 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง โดยมีดอยหลวงเป็นต้นน้้าสายต่างๆ ที่ไหลเข้า
สู่แม่น้้าอิงในบริเวณปลายน้้าของเขตพัฒนาที่ดินฯ พื้นที่ต้นน้้าเป็นต้นก้าเนิดของล้าน้้าหลัก (head water)
ทั้งหมด อันดับล้าธาร (Staler) ส่วนใหญ่เป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 รูปหน้าตัดล้าน้้าเป็น V-shape โดยใน
พื้นที่ต้นน้้านี้มีดอยที่ส้าคัญ ได้แก่ ดอยหลวง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง และวนอุทยาน
น้้าตกจ้าปาทอง เป็นน้้าตกที่มีลักษณะเป็นน้้าตกสูงชันซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งในพื้นที่
พื้นที่กลางน้ า เป็นพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา ได้แก่ บางส่วนของต้าบลเจริญราษฎร์ ต้าบลศรีถ้อย
และต้าบลแม่สุก อ้าเภอแม่ใจ และต้าบลบ้านใหม่ อ้าเภอเมืองพะเยา พื้นที่กลางน้้าเป็นทิวเขาแคบๆ ท้าให้มีการ
สร้างอ่างเก็บน้้าขนาดใหญ่ และเล็กกระจายอยู่กลางพื้นที่ เช่น อ่างเก็บน้้าแม่สุก บ้านแม่จว้าปันเจิง
พื้นที่ปลายน้ า เป็นส่วนของแอ่งรับน้้าปลายสุดของล้าน้้า สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม
ลักษณะพื้นที่ปลายน้้า จะเป็นที่ราบกว้างใหญ่เหมาะส้าหรับท้าการเกษตร มีพื้นที่ชุ่มน้้าหรือพื้นที่น้้าขัง
ชุมชนอยู่หนาแน่น (ภาพที่ 2)
พื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าน้้าแม่อิงตอนบนเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) จังหวัดพะเยา พื้นที่
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ (ตารางที่ 6) สามารถแบ่งภูมิประเทศได้ 3 ลักษณะ คือ
พื้นที่ลุ่มและที่ราบลุ่ม พบมากที่สุดในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าน้้าแม่อิงตอนบนเขตที่ 2
(หนองเล็งทราย) จังหวัดพะเยา กระจายตัวอยู่ในตอนกลางของเขตพัฒนาที่ดิน ถัดจากพื้นที่ดอนลงมา
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ส้าคัญของเขตพัฒนาที่ดิน
พื้นที่ดอน อยู่ทางทิศตะวันตกของเขตพัฒนาที่ดินถัดจากพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ก่อนลงสู่ที่ลุ่ม
หรือที่ราบลุ่มตอนกลางของพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น
พื้นที่ภูเขา อยู่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของเขตพัฒนาที่ดิน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น
พื้นที่ป่าไม้
ตารางที่ 6 ความลาดชัน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าน้้าแม่อิงตอนบนเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) จังหวัดพะเยา
ความลาดชัน เนื้อที่
สัญลักษณ์ ลักษณะสภาพพื้นที่
(เปอร์เซ็นต์) ไร่ ร้อยละ
A 0 - 2 ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ 95,654 40.77
B 2 - 5 ลาดชันเล็กน้อยมาก 36,648 15.62
C 5 - 12 ลาดชันเล็กน้อย 32,875 14.01
D 12 - 20 ลาดชันสูง 11,135 4.75
E 20 - 35 สูงชันปานกลาง 16,283 6.94
SC > 35 สูงชัน 41,995 17.91
รวมเนื้อที่ทั้งหมด 234,590 100.00