Page 77 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 77

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       56




                                   53) กลุ่มชุดดินที่ 62

                                   กลุ่มดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
                   ดินที่พบบริเวณดังกล่าวมีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
                   แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นก าเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่กระจัดกระจาย
                   ทั่วไป กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อที่ 192,027 ไร่ หรือร้อยละ 14.37 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา

                                   ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: สภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง ท าให้เป็นอุปสรรคต่อการ
                   เกษตรกรรม ยากต่อการดูแลรักษา เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินอย่างรุนแรงและท าลาย
                   ระบบนิเวศวิทยาของสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ จึงควรมีการศึกษาดินก่อนและท าการเกษตรแบบวนเกษตร
                   เพื่อรักษาระบบนิเวศของป่าไม้ไม่ให้เสื่อมโทรม

                                   54) หน่วยพื นที่เบ็ดเตล็ด
                                   พบ 4 หน่วยแผนที่ มีเนื้อที่ 65,020 ไร่ หรือร้อยละ 4.87 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา ได้แก่
                                   หน่วยแผนที่ M:  ที่ลุ่มน้ าขัง มีเนื้อที่ 6,750 ไร่ หรือร้อยละ 0.51 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
                                   หน่วยแผนที่ SP:  พื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้ง มีเนื้อที่ 19,117 ไร่ หรือร้อยละ 1.43 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา

                                   หน่วยแผนที่ U:  พื้นที่ชุมชน มีเนื้อที่ 6,577 ไร่ หรือร้อยละ 0.49 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
                                    หน่วยแผนที่ W: พื้นที่น้ า มีเนื้อที่ 32,576 ไร่ หรือร้อยละ 2.44 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา


                                 7.1.9 ปัญหาทรัพยากรดิน
                                 จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์
                   สามารถสรุปปัญหาทรัพยากรดิน โดยพิจารณาในเรื่องปัญหาดินที่เกิดจากลักษณะดินโดยตรง ไม่ได้

                   พิจารณาในส่วนการจัดการหรือการกระท าของมนุษย์ร่วมด้วย จึงไม่รวมปัญหาดินดานและดินปนเปื้อน
                   และได้เพิ่มปัญหาดินความอุดมสมบูรณ์ต่ า และปัญหาดินบนพื้นที่มีความลาดชันเชิงซ้อน ไว้ในที่นี้ด้วย
                   (ตารางที่ 5 และภาพที่ 7) ดังนี้
                                   1) ดินเปรี้ยวจัด พบในพื้นที่ลุ่ม ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 11 มีเนื้อที่ 10,738 ไร่ หรือ
                   ร้อยละ 0.80 ของพื้นที่

                                   2) ดินเค็ม เป็นดินเลนเค็ม ไม่มีศักยภาพให้เกิดกรดก ามะถัน พบในพื้นที่ลุ่ม
                   ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 12 มีเนื้อที่ 345 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของพื้นที่
                                   3) ดินทราย มีเนื้อที่รวม 53,383 ไร่ หรือร้อยละ 4.00 ของพื้นที่ โดยแบ่งเป็น

                                     (3.1)  ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 23 และ 24 มีเนื้อที่ 32,085 ไร่
                   หรือร้อยละ 2.40  ของพื้นที่
                                     (3.2)  ดินทรายในพื้นที่ดอน ของพื้นที่ ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 42 43 และ 44 มี
                   เนื้อที่ 7,343 ไร่ หรือร้อยละ 0.55 ของพื้นที่

                                     (3.3)  ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม/ดินทรายในพื้นที่ดอน ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 23/42
                   และ 24/43 มีเนื้อที่ 13,955 ไร่ หรือร้อยละ 1.05 ของพื้นที่
                                   4) ดินตื้น มีเนื้อที่รวม 320,647 ไร่ หรือร้อยละ 24.00 ของพื้นที่ โดยแบ่งเป็น
                                     (4.1)  ดินตื้นในพื้นที่ลุ่ม ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 25 มีเนื้อที่ 1,194 ไร่ หรือร้อยละ

                   0.09 ของพื้นที่
                                       (4.2)   ดินตื้นในพื้นที่ดอน ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 45 46 47 48 46/49 45/51 46/47
                   และ 51 มีเนื้อที่ 310,083 ไร่ หรือร้อยละ 23.21 ของพื้นที่
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82