Page 67 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 67

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       46




                                   26) กลุ่มชุดดินที่ 53

                                   กลุ่มชุดดินที่ 53 เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว
                   พบดินลูกรังหรือดินปนเศษหินผุพวกหินดินดาน ในระดับความลึก 50-100 เซนติเมตร พบในเขตดินชื้น
                   สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีการระบายน้ าของดินดี ปฏิกิริยาดินเป็น
                   กรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า

                                   ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: ดินชั้นล่างมีลูกรังหรือเศษหินปะปนอยู่ปริมาณมากเป็น
                   อุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืชรากลึก ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า พื้นที่ที่มีความลาดชันจะเกิดการ
                   ชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินได้ง่าย
                                   กลุ่มชุดดินที่ 53 ที่พบมีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 1,230 ไร่ หรือร้อยละ

                   0.09 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
                                   27) กลุ่มชุดดินที่ 55
                                   กลุ่มชุดดินที่ 55 เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว บางแห่งในชั้นดินล่างมี
                   ก้อนปูนและเศษหินปะปนอยู่ ในช่วงความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวก

                   หินตะกอนเนื้อละเอียดที่มีปูนปน เป็นดินลึกปานกลาง พบในเขตดินแห้ง สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่น
                   ลอนลาดเล็กน้อย มีการระบายน้ าของดินดีถึงดีปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่าง
                   ปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติปานกลาง

                                   ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: ดินมีโครงสร้างแน่นทึบยากต่อการชอนไชของรากพืช
                   มักเกิดชั้นดาน
                                   กลุ่มชุดดินที่ 55 ที่พบมีความลาดชัน 0-5 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 29,346 ไร่ หรือร้อยละ
                   2.20 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
                                   28) กลุ่มชุดดินที่ 59

                                   กลุ่มชุดดินที่ 59 เป็นกลุ่มชุดดินที่เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิด เกิดจากตะกอน
                   ล าน้ าพัดพามาทับถมกันบริเวณที่ราบลุ่มหรือพื้นที่ล่างหุบเขา ส่วนใหญ่เป็นดินลึก สภาพพื้นที่ราบเรียบถึง
                   ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายน้ าของดินค่อนข้างเลวถึงเลว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย

                   ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดินในบริเวณนั้นๆ
                   ส่วนมากมีก้อนกรวดและเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย
                                   กลุ่มชุดดินที่ 59 ที่พบมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 723 ไร่ หรือร้อยละ 0.05
                   ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา

                                   29) กลุ่มชุดดินที่ 60
                                   กลุ่มชุดดินที่ 60 เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิด เกิดจากตะกอนน้ าพามาทับถม
                   บริเวณสันดินริมน้ า ส่วนใหญ่เป็นดินลึก สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายน้ าของดิน
                   ดีถึงดีปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง

                                   จากการวิเคราะห์ข้อมูลดินกลุ่มชุดดินที่ 60 ตามวัตถุต้นก าเนิด ความอุดมสมบูรณ์
                   ควรอยู่ในระดับต่ า แต่เนื่องจากเป็นการศึกษาข้อมูลตามกลุ่มชุดดินจังหวัดระยอง มาตราส่วน 1: 50,000
                   จึงคงไว้ตามค าอธิบายเดิม
                                   กลุ่มชุดดินที่ 60 ที่พบมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 517 ไร่ หรือร้อยละ 0.04

                   ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72