Page 40 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       27





                                 7.1.2 สภาพภูมิประเทศ
                                 ลักษณะสภาพพื้นที่ของลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ เป็นลุ่มน้ าขนาดใหญ่ (กรมทรัพยากรน้ า,
                   2552) พื้นที่รับน้ าลักษณะเป็นแอ่ง ต้นน้ าเกิดจากบริเวณที่ราบสูงหรือเนินเขา จากแนวขอบทั้งฝั่งตะวันตก
                   และตะวันออก มารวมกันบริเวณที่ราบลุ่มต่ าทั้งฝั่งทิศตะวันตกและตะวันออกของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา สภาพ
                   พื้นที่ลาดเท มีธารน้ าและคลองย่อยหลายสายไหลจากพื้นที่ต้นน้ าและพื้นที่ราบสูง เนินเขาจากขอบของ

                   พื้นที่ลุ่มน้ าทั้งสองฝั่ง ไหลมารวมกันเกิดเป็นแม่น้ าประแสร์ บริเวณบ้านเขาสิงโต ซึ่งปัจจุบันได้มีการสร้าง
                   อ่างเก็บน้ าประแสร์ โดยมีสันอ่างอยู่บริเวณเขาวังเวียน ทิศทางเส้นน้ าประแสร์ไหลผ่านตอนล่างของพื้นที่
                   ลุ่มน้ าออกสู่ทะเลอ่าวไทย มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 2-1,030 เมตร (ภาพที่ 1 และ 2) โดยสรุป
                   ลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์แบ่งออกได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ (ตารางที่ 1 ภาพที่ 2 และ

                   ภาพที่  3)

                   ตารางที่ 1 ความลาดชัน พื้นที่ลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์

                                  ความลาดชัน                                                 เนื อที่
                    สัญลักษณ์                           ชั นความลาดชันเชิงเดี่ยว
                                   (เปอร์เซ็นต์)                                            ไร่     ร้อยละ
                        A              0-2         ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ        458,602        34.33
                        B              2-5         ลาดชันเล็กน้อยมาก                  535,477        40.08

                        C             5-12         ลาดชันเล็กน้อย                      103,669        7.76
                        D            12-20         ลาดชันสูง                            34,930        2.61
                        E            20-35         สูงชันปานกลาง                         6,817        0.51
                       SC             >35          พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน               196,599       14.71

                                            รวมเนื อที่ทั งหมด                      1,336,094      100.00


                                   1) พื้นที่ภูเขาและเนินเขา มีความลาดชัน 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นแนว
                   เทือกเขาอยู่บริเวณขอบฝั่งตะวันออก วางตัวทางทิศเหนือถึงตอนกลางค่อนมาทางใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ า รองมา
                   พบเป็นแนวเขาบริเวณขอบฝั่งตะวันตก วางตัวทางทิศเหนือถึงตอนกลางค่อนมาทางใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ า
                   และภูเขาโดดอยู่บริเวณตอนเหนือค่อนไปทางตอนกลางของลุ่มน้ า จุดที่สูงสุดมีความสูงจากระดับทะเล

                   ปานกลาง 1,030 เมตร บริเวณเขาชะเมารอยต่อจังหวัดระยองและจันทบุรี ตามภาพที่ 3
                                   2) บริเวณพื้นที่ดอน มีความลาดชันตั้งแต่ 5-20 เปอร์เซ็นต์ กระจายตัวอยู่บริเวณทาง
                   ตอนเหนือถึงตอนกลางค่อนมาตอนใต้ของลุ่มน้ า เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันต่อจากพื้นที่ราบสูงและเนินเขา
                                   3) บริเวณที่ราบและที่ราบลุ่ม มีความลาดชันตั้งแต่ 0-5 เปอร์เซ็นต์ เป็นบริเวณที่ราบเรียบ

                   ถึงลาดชันเล็กน้อยมาก เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่ลุ่มน้ า พบเป็นบริเวณกว้างอยู่ตลอดพื้นที่ลุ่มน้ าตั้งแต่
                   ทางเหนือถึงทางใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ า ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญของลุ่มน้ า


                                 7.1.3 สภาพภูมิอากาศ
                                 พื้นที่ลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์มีลักษณะภูมิอากาศจ าแนกตามระบบของ Köppen climate
                   (1931) เป็นแบบมรสุมเขตร้อน (Tropical monsoon climate) ข้อมูลสภาพภูมิอากาศทั่วไปและปริมาณ

                   น้ าฝนที่วัดได้เฉลี่ย ณ สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดระยอง (สถานี 48478) อ าเภอเมือง จังหวัดระยอง
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45