Page 194 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 194

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                    149






                                   แนวทางการแก้ไข
                                     1) บริเวณพื้นที่ที่หน้าดินมีเศษหิน ก้อนหินหรือลูกรังมาก รวมกับพื้นที่ที่มีความ
                   ลาดชันสูงมากหรือพื้นที่เป็นป่า หรือพื้นที่มีหินโผล่มาก ไม่ควรน ามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ควรปล่อย
                   ไว้เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ หรือแหล่งต้นน้ าล าธาร ส าหรับพื้นที่ทิ้งร้าง ควรปลูกไม้ใช้สอยโตเร็วหรือฟื้น
                   สภาพป่าให้กลับคืนมา

                                     2) การปลูกพืชผัก พืชไร่ ควรปลูกพืชหมุนเวียนตลอดปี โดยปลูกพืชบ ารุงดินร่วม
                   ด้วยเลือกใช้พื้นที่เพาะปลูกที่มีหน้าดินหนามากกว่า 25 เซนติเมตร และไม่มีเศษหินหรือหินพื้นโผล่ และมี
                   การไถพรวนน้อยที่สุด ควรรักษาความชื้นในดินโดยการปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวและใช้วัสดุคลุมโคนต้น
                   เพื่อไม่ให้ชั้นลูกรังจับตัวกันแน่นแข็งจนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช ปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยคอก

                   หรือปุ๋ยหมัก (พด.1) อัตรา 3-4 ตันต่อไร่ หรือหว่านเมล็ดถั่วพร้า ปอเทือง แล้วไถกลบระยะออกดอก
                   ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืช เพื่อบ ารุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุ โดยใช้ร่วมกับน้ าหมักชีวภาพ (พด.2)
                   และ/หรือปุ๋ยเคมีในอัตราส่วนที่เหมาะสม

                                     3) การปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น สภาพดินตื้นไม่ควรปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือพืชราก
                   ลึก แต่หากเป็นความต้องการ จ าเป็นต้องมีการจัดการหลุมปลูกเฉพาะ การเตรียมหลุมปลูกอาจกระท าโดย
                   ใช้แรงเครื่องจักรขนาดเล็กเนื่องจากเป็นดินตื้นยากแก่การขุดด้วยแรงคนโดยเฉพาะในพื้นที่ดินตื้นถึงชั้นหิน
                   พื้น ควรขุดหลุมปลูก ขนาด 50X50X50 เซนติเมตร หรือตื้นกว่าจนถึงแนวหินพื้น หากตื้นกว่า 30 เซนติเมตร

                   ควรย้ายพื้นที่หลุมปลูก ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดินที่ไม่มีเศษหินร่วมกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก อัตรา 25-30
                   กิโลกรัมต่อหลุม และควรปลูกหญ้าแฝกรอบโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นในดิน ควรปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ย
                   คอกหรือปุ๋ยหมัก (พด.1) อัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อต้น โดยใช้ร่วมกับน้ าหมักชีวภาพ (พด.2) และ/หรือ
                   ปุ๋ยเคมีในอัตราส่วนที่เหมาะสม  เมื่อไม้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น  ควรมีไม้ค้ ายันและเอาหน้าดินบริเวณใกล้เคียง
                   มาผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกพูนโคนอยู่เป็นประจ า  เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ท าให้ไม่ล้มง่าย

                                       4) ควรมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมร่วมด้วย เช่น ไถพรวนและปลูกพืช
                   ตามแนวระดับ ปลูกพืชคลุมดิน เป็นต้น มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ เช่น ใน
                   สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ควรปลูกพืชปุ๋ยสด ปลูกพืชคลุมดิน วัสดุคลุมดิน

                   ปลูกพืชแซม ท าแนวหญ้าแฝกขวางความลาดเท ส่วนสภาพที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดควรเพิ่มมาตรการที่จะ
                   ชะลอความเร็วในการไหลของน้ าโดย วิธีการสร้างคันดิน การท าขั้นบันได ท าคูน้ าขอบเขา เป็นต้น
                                       5) พัฒนาแหล่งน้ าและระบบการให้น้ าในพื้นที่ปลูก


                                    2) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า เนื่องจากวัตถุต้นก าเนิดดินมีธาตุอาหารตามธรรมชาติน้อย
                   ประกอบกับเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการปรับปรุงบ ารุง
                   ดินเท่าที่ควร ได้แก่ บริเวณหน่วยแผนที่ Km-slB/d5,E1 Ntn-clB/d3c,E1 Ntn-clC/d3c,E2 Pto-slC/d3c,E1

                   Pto-slD/d3c,E2 Kh-gm-slA/d5,E1 Ro-fl-slA/d5,E1 Ro-gm-clA/d5,E0 และ Te-gm-slA/d5,E1 มีเนื้อที่
                   รวม 3,211 ไร่ หรือร้อยละ 59.46 ของพื้นที่ด าเนินการ นอกจากนี้ดินความอุดมสมบูรณ์ต่ ายังเป็นปัญหา
                   ร่วมกับดินตื้นที่กล่าวมาแล้วด้วย
                                    แนวทางการแก้ไข

                                       ส าหรับการปลูกพืชไร่ ควรใช้พืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า หรือถั่วพุ่ม เนื่องจาก
                   เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่ค่อนข้างแล้ง โดยปลูกก่อนพืชหลักแล้วไถกลบในระยะออกดอก หรือปลูกแซม
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199