Page 11 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
การจัดการทรัพยากรดิน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน
อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ
1. บทน�ำ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาแห่งที่ 4
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชด�าริให้จัดตั้งขึ้นเป็นตัวอย่างการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน ในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน
พระบรมราชวโรกาสให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ องคมนตรี และนายสุนทร เรืองเล็ก
อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายเล็ก จินดาสงวน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์
สวนจิตรลดา ในการนี้ได้พระราชทานพระราชด�าริเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เป็นครั้งแรก โดยทรงให้
พิจารณาวางโครงการ จัดหาน�้าสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานตามพระราชด�าริ จังหวัดสกลนคร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดลองงานพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งการพัฒนาที่ดิน การพัฒนาแหล่งน�้า พื้นที่ฟื้นฟู
สภาพป่า การวางแผนปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ ที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต และการท�ามาหากิน ส�าหรับเป็นตัวอย่าง
ให้เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้าชมศึกษาค้นคว้า ฝึกอบรม หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อน�าไปปฏิบัติในพื้นที่
ของตนเองได้ต่อไป
ผลของการศึกษาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ เป็นเวลาต่อเนื่องนานถึง
34 ปี ท�าให้พื้นที่โครงการฯ ซึ่งเคยแห้งแล้ง ขาดแคลนน�้า สภาพป่าเสื่อมโทรมและดินขาดความอุดมสมบูรณ์
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการด�าเนินการเป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยทดลองหรือทดสอบของศูนย์ฯ
ตามแนวทางพระราชด�าริ โดยทรัพยากรดินถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานการพัฒนาพื้นที่ของศูนย์ฯ ซึ่งยังไม่ได้รับ
การรวบรวมหรือสังเคราะห์เพื่อจัดท�าเป็นเอกสารทางวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรดินของศูนย์ฯ ดังนั้นทาง
ส�านักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ (กปร.) จึงขอให้ทาง
กรมพัฒนาที่ดิน รวบรวมข้อมูลต่างๆ ดังกล่าว มาจัดท�าเป็นเอกสารทางวิชาการขึ้นในท�านองเดียวกันกับศูนย์
ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ ที่ทรงมีพระราชด�ารัส ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
เมื่อพ.ศ. 2535 ความตอนหนึ่งว่า
“...ให้น�ำผลกำรศึกษำจัดท�ำเป็นต�ำรำในกำรแก้ไขดินเปรี้ยว แล้วน�ำไปขยำยผลในพื้นที่ดินเปรี้ยว
ที่ จ.นครนำยกและศึกษำต่อไปว่ำหำกมีกำรปรับปรุงดินแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดินหลังจำก 1 ปี
ดินจะมีควำมเป็นกรดเพิ่มขึ้นหรือไม่...”