Page 28 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18 ร า ย ง า น การส�ารวจดิน
7. ผลกำรศึกษำ
7.1 ลักษณะทรัพยำกรดิน
จากการส�ารวจดินในระดับค่อนข้างละเอียด โดยใช้ระบบจ�าแนกดินตามมาตรฐานของ
กองส�ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน ซึ่งในหลักการจ�าแนกดินตามระบบสากลของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
(USDA soil Taxonomy) สามารถจ�าแนกดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ
ได้เป็น 3 ชุดดินและ 6 ดินคล้าย ซึ่งสามารถแยกย่อยออกได้อีกเป็น 12 ประเภท ประเภทของดินทั้งหมด
แสดงอาณาเขตในแผนที่ดิน (ภาพที่ 8) โดยใช้สัญลักษณ์เป็นหมายเลขซึ่งมีหน่วยแผนที่ดินทั้งหมด 16
หน่วยแผนที่ดิน (ตารางที่ 2 )
ความหมายของชุดดิน ดินคล้าย และประเภทดิน สามารถอธิบายได้ดังนี้
ชุดดิน (soil series) หมายถึง หน่วยจ�าแนกดินระดับต�่าสุดของการจ�าแนกดินตามระบบอนุกรมวิธาน
โดยถือลักษณะทางสัณฐานของดินเป็นหลัก เช่น ความหนาของชั้นดิน การจัดเรียงของชั้นดิน โครงสร้างดิน สีดิน
เนื้อดิน ปฏิกิริยาดิน การยึดตัว ปริมาณคาร์บอเนตและเกลือชนิดต่างๆ ฮิวมัส เศษหิน องค์ประกอบของแร่ในดิน
วัตถุต้นก�าเนิดดิน เป็นต้น
ดินคล้ายชุดดิน (soil variants) หมายถึง หน่วยจ�าแนกดินระดับเดียวกันกับชุดดินที่เคยก�าหนดไว้
แล้วซึ่งดินคล้ายชุดดินนี้มีลักษณะเด่นชัดพอที่จะก�าหนดเป็นชุดดินใหม่ได้ตามระบบการจ�าแนกดิน แต่เนื้อที่ที่พบ
ดินดังกล่าวจากการส�ารวจยังมีเนื้อที่น้อยกว่า 20 ตารางกิโลเมตร จึงไม่สามารถก�าหนดเป็นชุดดินใหม่ได้
แต่เพื่อสะดวกในการจดจ�าจึงเอาชื่อชุดดินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก�าหนด โดยระบุลักษณะที่แตกต่างจาก
ชุดดินนั้น เช่น ดินคล้ายชุดดินมาบบอนแต่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบ มีความหมายว่า ดินดังกล่าวมีลักษณะ
คล้ายชุดดินมาบบอนแต่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบ เป็นต้น
ประเภทดิน (soil phase) เป็นการแยกย่อยของชุดดินหรือดินคล้ายชุดดิน โดยการส�ารวจครั้งนี้
ใช้เนื้อดินบนและความลาดชันมาแบ่งแยกย่อย เช่น ชุดดินมาบบอน ที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย
และมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ จะเรียกว่า ชุดดินมาบบอน ประเภทที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และ
มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์