Page 47 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


            38    ร า ย ง า น การส�ารวจดิน




                   7.3   การจ�าแนกความเหมาะสมของดิน

                       7.3.1  การจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกพืช

                            จากการส�ารวจดิน การจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับพืชเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีประเมิน

            ตามคู่มือการจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย (กองส�ารวจและจ�าแนกดิน,
            2543) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


                            หลักเกณฑ์การจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับพืชเศรษฐกิจ

                            1) ศึกษาลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของดิน ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่ได้จากข้อมูล
            การส�ารวจและจ�าแนกดินอย่างละเอียด น�ามาจัดหมวดหมู่หรือเป็นชั้นตามความรุนแรงของลักษณะดินและสภาพ

            แวดล้อมที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืช หรือตามความเสี่ยงต่อความเสียหาย เมื่อน�าดินนั้นมาปลูกพืช พิจารณาโดย
            ถือหลักว่า พืชที่จะปลูกตามปกติจะต้องปลูกในฤดูฝน ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะประกอบด้วยชุดดิน

            หลายชุด แต่ไม่ได้หมายความว่าชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นนั้นต้องการการจัดการที่เหมือนกันเสมอไป
            ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะมีข้อจ�ากัดปลีกย่อยลงไปอีก เรียกว่า ชั้นความเหมาะสมของดินย่อย

            (subclass)
                            2)  ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นยกเว้นชั้นความเหมาะสมที่ 1 จะต้องระบุลักษณะ

            และคุณสมบัติของดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชที่ปลูก ลักษณะของดินที่ระบุ
            ไว้ในชั้นความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกพืชแต่ละชั้น เรียกว่า ข้อจ�ากัด (limitation) การจ�าแนก

            ความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะต้องตรวจสอบว่าดินแต่ละชุดนั้นมีลักษณะอะไรบ้างที่รุนแรงที่สุดที่จะเป็น
            อุปสรรคต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชก็จะตกอยู่ในชั้นความเหมาะสมนั้น

                            3) เมื่อทราบชั้นความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกพืชแล้วให้ท�าการจ�าแนกชั้น
            ความเหมาะสมย่อยลงไป โดยจะระบุชนิดของข้อจ�ากัดที่รุนแรงที่สุดไว้ต่อท้ายชั้นความเหมาะสมของดินหลัก

            ชนิดของข้อจ�ากัดหรือลักษณะของดินที่เป็นอันตรายหรือท�าความเสียหายให้แก่พืช ได้แก่
                               t : สภาพพื้นที่ (topography)

                               s : เนื้อดิน (texture) หรือชั้นขนาดอนุภาคขนาดดิน (particle size class)
                               b : ชั้นชะล้างอย่างรุนแรง (albic horizon)

                               g : ความลึกที่พบก้อนกรวด (depth to gravelly layer)
                               x : ความเค็มของดิน (salinity)

                               d : การระบายน�้าของดิน (drainage)
                               w : น�้าแช่ขัง (water logging)

                               n : ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (nutrient status)
                               ชั้นความเหมาะสมของดินส�าหรับพืชเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ได้แก่

                               ชั้นความเหมาะสมที่ 1 : เหมาะสมดีมาก
                               ชั้นความเหมาะสมที่ 2 : เหมาะสมดี

                               ชั้นความเหมาะสมที่ 3 : เหมาะสมปานกลาง
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52