Page 34 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  25



                  7) ดินคล้ายชุดดินนราธิวาส ที่เป็นดินเค็ม

                  การจ�าแนกดิน        Euic, isohyperthermic Typic Haplofibrists

                  สภาพพื้นที่         พื้นที่ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 เปอร์เซ็นต์


                  ภูมิสันฐาน          ที่ราบลุ่มน�้าทะเลท่วมถึง

                  วัตถุต้นก�าเนิด     เกิดจากการสลายตัวผุพังของซากพืชที่เป็นป่าชายเลน

                  การระบายน�้า        เลวมากมีน�้าทะเลท่วมขังทุกวัน

                  การซึมผ่านได้ของน�้า  ช้า        การไหลบ่าของน�้าบนผิวดิน    ช้า


                  การใช้ประโยชน์      ป่าชายเลนที่ส่วนใหญ่เป็นไม้โกงกาง

                  ลักษณะดิน           เป็นดินอินทรีย์หนามากกว่า 130 เซนติเมตร วัสดุอินทรีย์ประกอบไปด้วยซากพืชป่าชายเลน
                                      ที่มีการสลายตัวเล็กน้อยถึงปานกลางซึ่งระบบการจ�าแนกดินเรียกวัสดุอินทรีย์นี้ว่าเป็น

                                      วัสดุไฟบริก (Fibric soil material) หรือเรียกกันทั่วไปว่า พีท (Peat) และที่ความลึก
                                      130-150 เซนติเมตร พบชั้นดินเลนสีเทาปนน�้าเงิน คาดว่ามีองค์ประกอบของก�ามะถัน

                                      เป็นจ�านวนมากเนื่องจากมีกลิ่นก๊าซไข่เน่าและดินเมื่อขุดมาแล้วปล่อยให้แห้งพบ
                                      สารประกอบสีเหลืองฟางข้าว (Jarosite) และเป็นกรดจัดซึ่งเป็นผลมาจากการท�าปฏิกิริยา

                                      ขององค์ประกอบก�ามะถันกับอากาศ เนื่องจากดินนี้ มีน�้าทะเลแช่ขังเกือบตลอดเวลาดิน
                                      จึงมีปฏิกิริยาเป็นด่างจัด ค่าปฏิกิริยาดินที่วัดได้จะอยู่ที่ประมาณ 8.0 แต่ถ้าดินแห้งจะ

                                      ลดลงเหลือประมาณ 4.0

                  ข้อจ�ากัด           เป็นดินอินทรีย์ที่มีคุณภาพต�่า เป็นดินเค็มที่มีน�้าทะเลท่วมถึงยากในการพัฒนา ถ้าน�ามา
                                      ใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจ จะไม่คุ้มกับการลงทุนและท�าให้ระบบนิเวศเสียหาย


                  ข้อเสนอแนะ          ควรรักษาไว้ให้เป็นป่าชายเลน

                        ดินคล้ายชุดดินนราธิวาส ที่เป็นดินเค็ม ที่พบมี 1 ประเภท และเขียนขอบเขตไว้ในแผนที่ดินเป็นหมายเลข
                  หน่วยแผนที่ดินที่ 10 ดังนี้

                         หน่วยแผนที่ดินที่ 10 : ดินคล้ายชุดดินนราธิวาส ที่เป็นดินเค็ม ประเภทที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนพีท

                  และมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 898 ไร่ หรือร้อยละ 11.2 ของพื้นที่ทั้งหมด
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39