Page 28 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  19



                           7.1.1  ค�าอธิบายลักษณะดิน

                  1) ชุดดินบ้านทอน

                  การจ�าแนกดิน        Sandy, siliceous, isohyperthermic, Typic Haplorthods


                  สภาพพื้นที่         ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์

                  ภูมิสันฐาน          หาดทรายเก่า

                  วัตถุต้นก�าเนิด     เกิดจากตะกอนทรายทะเลบริเวณหาดทรายเก่า

                  การระบายน�้า        ดีในดินบนและดีปานกลางถึงค่อนข้างเลวในดินล่าง

                  การซึมผ่านได้ของน�้า  เร็วในดินบนและช้าในดินล่าง      การไหลบ่าของน�้าบนผิวดิน    ปานกลางถึงช้า


                  การใช้ประโยชน์      ส่วนใหญ่เป็น ป่าเสม็ด และพื้นที่ว่างเปล่า บางส่วนเป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าวและ
                                      มะม่วงหิมพานต์

                  ลักษณะดิน           เนื้อดินบนเป็นดินทรายสีเทาด�าอยู่เหนือชั้นดินทรายสีขาวหรือสีเทาอ่อน ปฏิกิริยาดิน

                                      เป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ชั้นดินล่างถัดจากชั้นทรายสีขาว ระหว่าง
                                      ความลึก 60-80 เซนติเมตร จากผิวดิน เป็นชั้นดานอินทรีย์ มีสีน�้าตาลเข้มถึง

                                      สีน�้าตาลเข้มมากหรือสีน�้าตาลแก่ ชั้นนี้เป็นชั้นที่มีการสะสมของอินทรียวัตถุที่ถูกชะมา
                                      จากชั้นบนที่เป็นชั้นดินทรายสีขาว ถัดจากชั้นดานอินทรีย์ เป็นชั้นดินทรายหรือดินทราย

                                      ปนดินร่วนมีสีเหลืองหรือสีน�้าตาลอ่อน มักพบจุดประสีปนอยู่ในชั้นดิน ปฏิกิริยาดิน
                                      เป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)

                  ข้อจ�ากัด           ดินเป็นทรายจัด มีความอุดมสมบูรณ์ต�่ามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งชั้นทรายสีขาวซึ่งขาดธาตุ

                                      อาหารต่างๆ อย่างรุนแรง การพบชั้นดานอินทรีย์จะมีผลต่อการซาบซึมน�้าของดิน

                                      ท�าให้เกิดการแช่ขังของน�้าในฤดูฝน การที่ดินเป็นทรายจะท�าให้ดินมีความสามารถ
                                      ในการอุ้มน�้าน้อย เสี่ยงต่อการขาดแคลนน�้าในฤดูแล้งหรือในระยะฝนทิ้งช่วง

                  ข้อเสนอแนะ          ไม่ค่อยเหมาะสมในการน�ามาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ ควรปล่อยไว้เป็นป่าเสม็ด

                                      ตามธรรมชาติ

                        ชุดดินบ้านทอน ที่พบมี 1 ประเภท และเขียนขอบเขตไว้ในแผนที่ดินเป็นหมายเลขหน่วยแผนที่ดินที่ 1 ดังนี้

                         หน่วยแผนที่ดินที่ 1 : ชุดดินบ้านทอน ประเภทที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทราย และมีความลาดชัน 0-2

                  เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 777 ไร่ หรือร้อยละ 9.69 ของพื้นที่ทั้งหมด
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33