Page 30 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-13





                        2.3.2  ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) จากการสํารวจสภาพการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว ในปี

                  2553 โดยส่วนวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินที่ 1 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                  พบว่า ในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) มีสภาพการใช้ที่ดิน ดังนี้ (ตารางที่ 2-2 และรูปที่ 2-5)

                          1)  พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 43,729 ไร่ หรือร้อยละ 7.50 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา
                  ได้แก่ ตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้าน สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ สนามบิน ถนน โรงงาน

                  อุตสาหกรรม แหล่งรับซื้อสินค้าทางการเกษตร และสุสาน ป่าช้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านและสถานที่

                  ราชการและสถาบันต่างๆ

                          2)  พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 488,460 ไร่ หรือร้อยละ 83.77 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา
                  ประกอบไปด้วย

                                - นาข้าว มีเนื้อที่ 286,055 ไร่ หรือร้อยละ 49.06 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา

                                - พืชไร่ มีเนื้อที่ 142,057 ไร่ หรือร้อยละ 24.36 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ไร่ร้าง
                  พืชไร่ผสม ข้าวโพด อ้อย และมันสําปะหลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อย

                                - ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 51,492 ไร่ หรือร้อยละ 8.83 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ไม้ยืนต้นผสม

                  ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน ยูคาลิปตัส สัก และไผ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกยูคาลิปตัส
                                - ไม้ผล มีเนื้อที่ 8,211 ไร่ หรือร้อยละ 1.41 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ไม้ผลผสม

                  มะพร้าว มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ ลําไย และมะละกอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลผสม

                                - ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 293 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของเนื้อที่

                  ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ ม้า และสัตว์ปีก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่
                  โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก

                                - สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า มีเนื้อที่ 352 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา

                  ได้แก่ สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าร้าง และสถานที่เพาะเลี้ยงปลา

                             3)  พื้นที่ป่ าไม้ มีเนื้อที่ 27,149 ไร่ หรือร้อยละ 4.66 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ป่าดิบ
                  สมบูรณ์ ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู ป่าผลัดใบสมบูรณ์ และสวนป่าสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าผลัด

                  ใบสมบูรณ์

                             4)  พื้นที่แหล่งนํ้า มีเนื้อที่ 5,090 ไร่ หรือร้อยละ 0.87 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ แม่นํ้า
                  ลําคลอง ทะเลสาบ บึง อ่างเก็บนํ้า และบ่อนํ้าในไร่นา

                             5) พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 18,656 ไร่ หรือร้อยละ 3.20 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ทุ่งหญ้า

                  ไม้ละเมาะ พื้นที่ลุ่ม เหมืองเก่า บ่อขุดเก่า และบ่อลูกรัง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ไม้ละเมาะ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35