Page 210 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 210

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-57






                  3.3  ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)

                        3.3.1  สถานภาพของทรัพยากรดินในปัจจุบัน
                             จากการศึกษาข้อมูลดินร่วมกับลักษณะสภาพพื้นที่ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาป

                  ตอนล่าง (1703) สามารถสรุปปัญหาหรือข้อจํากัดของทรัพยากรดินได้ดังนี้ (ตารางที่ 3-5 และรูปที่ 3-3)

                             (1)ดินตื้นที่ดอน มีเนื้อที่ 297,271 ไร่ หรือร้อยละ 30.90 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบใน
                  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นเนินเขา ดินมีการระบายนํ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                  ตามธรรมชาติตํ่าถึงปานกลาง เป็นดินตื้นถึงลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหิน ดินตื้นถึงชั้นหินพื้นและดินตื้นถึง

                  ชั้นดินมาร์ลหรือก้อนปูน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไถพรวนตลอดจนการดูดซับนํ้าและ
                  แร่ธาตุอาหารของพืช ทําให้พืชที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตํ่า พบบริเวณตอนกลางและ

                  ตอนล่างของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาในเขตอําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว อําเภอสอยดาวและอําเภอโป่งนํ้าร้อน

                  จังหวัดจันทบุรี

                             (2) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 290,327 ไร่ หรือร้อยละ 30.18 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขาเป็น
                  พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงหรือพื้นที่ภูเขา มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อ

                  การทําเกษตรกรรม เนื่องจากลักษณะของพื้นที่และดิน ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย การเกิดดินถล่มและ

                  นํ้าไหลบ่าเมื่อฝนตกหนัก ยากต่อการไถพรวน การจัดการพื้นที่เพื่อทําเกษตรกรรมต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง

                  ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งต้นนํ้าลําธาร พบบริเวณตอนล่างของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาในอําเภอสอยดาว
                  และอําเภอโป่งนํ้าร้อน จังหวัดจันทบุรี


                  ตารางที่ 3-5  สถานภาพทรัพยากรดินในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)


                                                                                    เนื้อที่
                                  สถานภาพทรัพยากรดิน
                                                                             ไร่             ร้อยละ
                  ดินตื้นที่ดอน                                            297,271            30.90

                  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน                                    290,327            30.18
                  พื้นที่ที่ไม่พบดินมีปัญหา                                331,096            34.42

                  พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง                             30,506             3.17
                  พื้นที่แหล่งนํ้า                                         11,422             1.19

                  พื้นที่อื่นๆ                                              1,412             0.14

                                         รวม                               962,034           100.00

                  หมายเหตุ : เนื้อที่คํานวณด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
                  ที่มา : ดัดแปลงจากสํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2551)
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215