Page 9 - การประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เกษตรกรรมด้วย Cs137
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               (7)







                                                            บทคัดย่อ

                              การประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เกษตรกรรมด้วย  Cs137    ด าเนินการในพื้นที่
                       เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ในลุ่มน้ าเจ้าพระยา โดยการเก็บตัวอย่างดินตามแนวตัดขวางความลาด เทของ
                       พื้นที่ (Transect) จ านวน 8 แนวตัดขวางความลาดเท  การศึกษาประกอบด้วย  สภาพแวดล้อมของพื้นที่

                       ศึกษา  ปริมาณซีเซียม   137  สมบัติดินทางกายภาพและเคมี    อัตราการกระจายของดิน  (Soil
                       Redistribution Rate, SRD) จากการใช้ Mass Balance II model  และความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการ
                       การกระจายของดินกับสมบัติดิน
                              ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณซีเซียม 137 ในดินที่ศึกษาทั้งหมดเรียงตามล าดับ ดังนี้ Transect I >

                       Transect H > Transect F > Transect E > Transect C > Transect B > Transect D > Transect A
                       ตามล าดับ    ดินมีเนื้อดินค่อนข้างละเอียด ได้แก่  ดินร่วน  (loam)    ดินร่วนปนทรายแป้ง  (silt  loam)
                       ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (silty clay loam)  ดินร่วนปนดินเหนียว (clay loam)  และดินร่วนเหนียว
                       ปนทราย  (sandy  clay  loam)   โดยมีปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้งสูงสุด  (27.5-66.1%  ค่าเฉลี่ย

                       45.8%)  และอนุภาคขนาดดินเหนียวต่ าสุด (16.3-38.5% ค่าเฉลี่ย 25.1%)  Transect A, Transect B,
                       Transect  C  และ  Transect  D  มีอนุภาคขนาดทรายสูงกว่าบริเวณอื่นที่ศึกษา  อย่างไรก็ตาม   ปริมาณ
                       อนุภาคขนาดทรายในดินทุกพื้นที่เป็นอนุภาคขนาดทรายละเอียดมาก  สมบัติทางเคมีของดินที่ศึกษา
                       พบว่า ดินมีค่าปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0-8.4 ค่าเฉลี่ย 8.2)  ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าอยู่

                       ในระดับปานกลางถึงสูงมาก (1.7-4.5% ค่าเฉลี่ย 3.1%)  ปริมาณฟอสฟอรัสมีค่าอยู่ในระดับต่ ามากถึงสูง
                       มาก (0.2-227.4 mg/kg  ค่าเฉลี่ย 39.4 mg/kg)   ปริมาณพอแทสเซียมมีค่าอยู่ในระดับสูงมาก (158.2-
                       539.2  mg/kg   ค่าเฉลี่ย  305  mg/kg)    ปริมาณแคลเซียมมีค่าอยู่ในพิสัย  6560-12462  มิลลิกรัมต่อ
                       กิโลกรัม (ค่าเฉลี่ย 9321 mg/kg)  และปริมาณแมกนีเซียมมีค่าอยู่ในพิสัย 73-799 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                       (ค่าเฉลี่ย 212 mg/kg)
                              ค่าอัตราการกระจายของดินจากการค านวณด้วย Mass balance II Model จากปริมาณซีเซียม
                       137  พบว่า ดินที่ถูกชะล้างหรือการทับถมตามแนวตัดขวางความลาดเทที่ศึกษามีค่าแตกต่างกัน   ดินส่วน
                       ใหญ่ในแต่ละต าแหน่งมีการชะล้างพังทลายสูญเสียดินมากกว่าการทับถม  อัตราการชะล้างพังทลายสุทธิ

                       ของแต่ละ Transect พบว่า Transect A > Transect D > Transect B > Transect C > Transect E >
                       Transect F > Transect H > Transect I  ค่าอัตราการกระจายของดินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง
                       โดยตรงทางบวกกับปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้งของดิน  (r=0.66***)    โดยที่มีความสัมพันธ์อย่างมี
                       นัยส าคัญยิ่งในทางลบกับปริมาณอนุภาคขนาดทราย  (r=-0.66***)    อนุภาคขนาดทรายทุกขนาดมี

                       ความสัมพันธ์เชิงลบกับค่าอัตราการกระจายของดินแต่ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญกับอนุภาคขนาด
                       ดินเหนียว
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14