Page 21 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางกายภาพและการแปลผลเพื่อการสำรวจและจำแนกดิน
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
15
4.1 การวิเคราะห์การแจกกระจายขนาดของอนุภาคดินและเนื้อดิน
การแจกกระจายขนาดของอนุภาคดินและเนื้อดินเป็นสมบัติดินที่ส าคัญอย่างมาก โดยที่
สมบัติดินทางเคมีส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์อย่างยิ่งกับปริมาณอนุภาคดินขนาดต่าง ๆ ที่เป็น
องค์ประกอบในดินนั้นๆ นอกจากนี้การแจกกระจายขนาดของอนุภาคดินมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
การจ าแนกในระดับวงศ์ดิน คือ ชั้น Particle Size Classes (Skopp, 1992)
ข้อมูลผลวิเคราะห์เกี่ยวกับการแจกกระจายขนาดของอนุภาคดินนี้ ส าหรับงานทางด้าน
ปฐพีวิทยาแล้วสามารถน ามาใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายถึงการก าเนิดดิน การจ าแนกดิน รวมทั้ง
การบ่งบอกเนื้อดินด้วย
การจ าแนกดินในระบบอนุกรมวิธานดินของกระทรวงเกษตรและสหรัฐอเมริกา (Soil Survey
Division Staff, 1999) เนื้อดินหมายถึงสัดส่วนความสัมพันธ์ของอนุภาคขนาดดินเหนียว ทรายแป้ง
และทราย ในดินที่มีขนาดเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร นอกจากนี้อนุภาคขนาดทรายสามารถจ าแนก
ออกเป็น 5 ขนาด ดังแสดงในตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 การจ าแนกกลุ่มขนาดของอนุภาคดิน (soil separate) ที่มีเส้นผ่าศูนย์ไม่เกิน 2 มม.
(b)
(a)
ขนาดอนุภาค เส้นผ่าศูนย์กลาง (มม.) เส้นผ่าศูนย์กลาง (มม.)
Very coarse sand (ทรายหยาบมาก) 2.00 – 1.00 -
Coarse sand (ทรายหยาบ) 1.00 – 0.50 2.00 – 0.20
Medium sand (ทรายปานกลาง) 0.50 – 0.25 -
Fine sand (ทรายละเอียด) 0.25 – 0.10 0.20 – 0.02
Very fine sand (ทรายละเอียดมาก) 0.10 – 0.05 -
Silt (ทรายแป้ง) 0.05 – 0.002 0.02 – 0.002
Clay (ดินเหนียว) < 0.002 < 0.002
(a) แบ่งตามระบบของ United States Department of Agriculture System
(b) แบ่งตามระบบ International Society of Soil Science System