Page 12 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางกายภาพและการแปลผลเพื่อการสำรวจและจำแนกดิน
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                6







                              การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ  โดยเก็บตัวอย่างดิน 2 แบบ คือ
                              1.  ตัวอย่างดินที่ถูกรบกวน (disturbed soil samples)


                              การเก็บตัวอย่างดินในลักษณะที่ถูกรบกวน  โดยการเก็บตัวอย่างดินทุกชั้นดินที่ได้แบ่งชั้นดิน
                       วินิจฉัยของหน้าตัดดิน    ชั้นดินวินิจฉัยแต่ละชั้นเก็บตัวอย่างดินหนึ่งตัวอย่าง  ตัวอย่างละประมาณ  2

                       กิโลกรัม  เพื่อน าไปศึกษาสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางแร่วิทยาในห้องปฏิบัติการต่อไป

                              2.  ตัวอย่างดินสภาพธรรมชาติ คือ ตัวอย่างดินที่ไม่ถูกรบกวน (undisturbed soil samples)

                              การเก็บตัวอย่างดินสภาพธรรมชาติเป็นการเก็บตัวอย่างดินในสภาพที่ใกล้เคียงกับสภาพ
                       ธรรมชาติมากที่สุด  การเก็บตัวอย่างดินนี้จ าเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  โดยเก็ บตัวอย่างดินด้วย

                       ภาชนะเฉพาะ  มี 2 แบบ คือ

                                  2.1  การเก็บตัวอย่างดินด้วยกระบอกกลม (core)  ดังแสดงในภาพที่ 2.2

                                  การเก็บตัวอย่างดินด้วยกระบอกกลม (core) เพื่อการศึกษาสมบัติดินทางกายภาพ ได้แก่
                       สภาพน าน ้าของดินขณะอิ่มตัว (saturated hydraulic conductivity) และความหนาแน่นรวม (bulk

                       density)   การเก็บตัวอย่างดินด้วยกระบอกกลมนี้ควรเก็บตัวอย่างดินอย่างน้อยสองตัวอย่าง เพื่อที่จะ

                       ได้ผลวิเคราะห์ที่เป็นตัวแทนที่ดีและถูกต้องของดินในสภาพธรรมชาติ

                                  2.2  การเก็บตัวอย่างดินด้วยกล่องสี่เหลี่ยม (Kubiena box)

                                  การเก็บตัวอย่างดินด้วย Kubiena box เพื่อการศึกษาด้านจุลสัณฐานดิน

                              ข้อควรค านึงในการเก็บตัวอย่างดิน  เพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์ดินที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ  ได้แก่

                                 1.  การคัดเลือกพื้นที่ศึกษาจักต้องเป็นตัวแทนของดินนั้นๆ ตามสภาพภูมิประเทศ

                                 2.  การจัดแยกชั้นก าเนิดดินในแต่ละชั้นจักต้องด าเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

                                 3.  การเก็บตัวอย่างดินของแต่ละชั้นก าเนิดดินที่ถูกต้อง

                                 4.  ระวังการปนเปื้อนของตัวอย่างดินในแต่ละชั้นก าเนิดดิน

                                 5.  ก ากับดูแลป้ายชื่อตัวอย่างดินให้ถูกต้องกับตัวอย่างดิน
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17