Page 111 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 111

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-54






                      3.3    การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม
                            การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของการผลิตข้าวนาปีได้แบ่งพื้นที่ตามภาค 5 ภาค คือ

                      ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้พื้นที่ปลูกแบ่งเป็นในเขต

                      ชลประทานและนอกเขตชลประทาน โดยกําหนดความเหมาะสมของพื้นที่ที่ปลูกข้าวเป็น   3  ระดับ คือ
                      พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1)  พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2)และพื้นที่ที่มีระดับ
                      ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)  การศึกษาแบ่งเป็น 3  ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1  การใช้ปัจจัยการผลิต แบ่ง

                      การศึกษาตามภาคและระดับความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนที่ 2  ต้นทุน รายได้ (มูลค่าผลผลิต)  และ

                      ผลตอบแทนจากการผลิต แบ่งการศึกษาตามภาค ระดับความเหมาะสมของพื้นที่ ในเขตชลประทานและ
                      นอกเขตชลประทาน และ ส่วนที่ 3 ปัญหา ความต้องการความช่วยเหลือ ด้านการผลิต และทัศนคติใน
                      การใช้ที่ดินของเกษตรกรที่ปลูกข้าว

                            ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตจําแนกเป็น 2  ประเภท คือ ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ ต้นทุน

                      ผันแปรเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อทําการผลิตและจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตได้แก่
                      ค่าใช้จ่ายในการปลูก (พันธุ์และแรงงาน เป็นต้น) ค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษา (ค่าปุ๋ ย สารป้องกัน และ

                      กําจัดวัชพืช ศัตรูพืช ค่าแรงงาน เป็นต้น) ต้นทุนคงที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นคงที่แม้จะไม่ทําการผลิต ก็
                      ต้องมีค่าใช้จ่ายจํานวนนี้ได้แก่ ค่าเช่าที่ดิน ค่าใช้ที่ดิน ค่าภาษีที่ดิน และค่าเสื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

                      ทุนที่เป็นเงิน เป็นต้นทุนที่เป็นตัวเงินที่เกษตรกรจ่ายไปจริงในการซื้อหรือจ้างปัจจัยในการผลิตต้นทุน

                      ที่ไม่เป็นเงิน เป็นต้นทุนที่คิดจากมูลค่าของปัจจัยที่เกษตรกรใช้ในการผลิตโดยเกษตรกรเป็นเจ้าของ
                      ปัจจัยหรือได้มาโดยไม่ได้คิดเป็นตัวเงิน ได้แก่ ค่าแรงงานคนในครัวเรือน ค่าแรงงานเครื่องจักรของตนเอง

                      และค่าใช้ที่ดินของตนเอง เป็นต้น ผลตอบแทนจากการผลิตจะพิจารณาจากผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็น
                      เงิน ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งอัตราส่วนรายได้

                      (มูลค่าผลผลิต)  ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C)  เพื่อเปรียบเทียบและแสดงให้เห็นถึงรายได้ที่ได้รับจากการลงทุน
                      ข้าว ปี การเพาะปลูก 2555/56   ทําการสํารวจการผลิตในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของภาคเหนือ ภาค

                      ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน
                      ตามความเหมาะสมทางกายภาพของพื้นที่ 3  ระดับ คือ ระดับความเหมาะสมสูง (S1)ระดับความเหมาะสม

                      ปานกลาง (S2)  และระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)  ราคาที่ใช้คํานวณรายได้(มูลค่าผลผลิต)  เป็นราคาที่

                      เกษตรกรขายได้เฉลี่ยตามภาคต่างๆ ทั้งนี้เพื่อกําจัดปัญหาด้านราคาที่มีความแตกต่างกันตามสถานที่และ
                      ระยะเวลา โดยราคาขายเฉลี่ยของประเทศกิโลกรัมละ 11.00    บาท ภาคเหนือเฉลี่ยกิโลกรัมละ

                      9.78  บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00  บาท ภาคกลางเฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.37  บาท ภาค
                      ตะวันออกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.26  บาท และภาคใต้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.08  บาท ขายผลผลิตที่ได้ร้อยละ

                      88.00  นอกนั้นเก็บไว้บริโภคและทําพันธุ์ การขายผลผลิตของเกษตรกร ขายอิสระ ร้อยละ 76.63  และ
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116