Page 54 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           34







                       7.2  ทรัพยากรดิน

                       จากข้อมูลดิน มาตราส่วน 1:25,000  และรายงานสํารวจดินเพื่อการเกษตร จังหวัดอุทัยธานี (สํานัก

               สํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2554) ที่ได้นํามาดัดแปลงจัดทําหน่วยแผนที่ดินในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับ

               เสลา สามารถจําแนกดินได้เป็น 9 กลุ่มชุดดิน มีเนื้อที่ 443,113 ไร่ หรือร้อยละ 95.53 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
               และพื้นที่อื่น ๆ 2 หน่วย ได้แก่ พื้นที่ชุมชน (U) และพื้นที่นํ้า (W) มีเนื้อที่ 20,712 ไร่ หรือร้อยละ 4.47 ของ

               พื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา สําหรับหน่วยแผนที่ดินพบทั้งหมด 18 หน่วยแผนที่ดิน ซึ่งแบ่งเป็นประเภทของกลุ่มชุดดิน

               16 ประเภท และพื้นที่เบ็ดเตล็ด 2 หน่วย โดยแต่ละกลุ่มชุดดินมีรายละเอียดของลักษณะสําคัญของกลุ่มใน
               ภาคผนวก ส่วนลักษณะและสมบัติของหน่วยแผนที่ในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา สามารถสรุปได้ตามตารางที่

               5 และภาพที่ 7

                       ลักษณะและคุณสมบัติของกลุ่มชุดดินในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา

                       กลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะและสมบัติดินที่เฉพาะตามปัจจัยการเกิดดินและการสร้างดิน เช่น
               สภาพภูมิอากาศ ชนิดวัตถุต้นกําเนิดดิน สภาพพื้นที่ ระยะเวลาการพัฒนาของดิน พืชพรรณธรรมชาติ สิ่งที่มี

               ชีวิต และการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น ซึ่งลักษณะและสมบัติที่เป็นข้อเด่นประจํากลุ่มชุดดินได้สรุปไว้โดย

               อาศัยการเปรียบเทียบข้อมูลเหล่านี้กับลักษณะของดินที่พบ จะทําให้สามารถจัดจําแนกดินในเบื้องต้นได้ว่า
               จะอยู่ในกลุ่มชุดดินใด และนําไปสู่รายละเอียดอื่นๆ ของดิน รวมทั้งปัญหาการใช้ประโยชน์และแนวทางการ

               จัดการดินที่เหมาะสมในลําดับต่อไป

                           7.2.1  กลุ่มชุดดินที่ 22

                           เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูก

               เคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลํานํ้า เป็นกลุ่ม

               ดินลึกถึงลึกมาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีนํ้าแช่ขังในช่วง

               ฤดูฝน การระบายนํ้าค่อนข้างเลว

                           ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย  สีพื้นเป็นสีเทาหรือสีนํ้าตาลปนเทา มีจุดประสีนํ้าตาลปน

               เหลืองหรือสีเหลืองปนนํ้าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ  4.5-5.0

               ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกตํ่า และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างตํ่าถึงปานกลาง

                           ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย สีพื้นเป็นสีเทาหรือสีนํ้าตาลปนเทา มีจุดประสีนํ้าตาลปนเหลือง

               หรือสีเหลืองปนนํ้าตาล และอาจพบมีศิลาแลงอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด มีค่าความเป็น


               กรดเป็นด่างประมาณ  5.0-5.5 ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกตํ่า และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็น
               ด่างสูง
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59