Page 3 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านใหม่มงคล หมู่ที่ 2 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยน้ำแหง ลุ่มน้ำสาขาน้ำแหง (รหัส 0910) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำน่าน (รหัส 09)
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                                                            บทคัดย่อ


                              การจัดท าเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า มีจุดมุ่งหมายที่จะจัดระบบงานพัฒนาที่ดินของกรมพัฒนา
                       ที่ดินให้เป็นรูปธรรม โดยการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อป้องกันและแก้ไข

                       ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและที่ดิน พัฒนาพื้นที่ที่ประสบปัญหาในด้านการเกษตรใน
                       ลักษณะของพื้นที่ลุ่มน้ า
                               สภาพพื้นที่ของเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าห้วยน้ าแหง จังหวัดน่าน เป็นภูเขาสูงสลับกับที่ราบ
                       ระหว่างเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ าตะวันออก อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ

                       300-1,121 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
                               ทรัพยากรดินที่พบจ าแนกได้ 10 หน่วยแผนที่ ได้แก่ หน่วยแผนที่ 15 29B 29C 47C 47D
                       55B 62 ML U และ W

                               ด้านสภาพการใช้ที่ดิน พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 119,035 ไร่ หรือร้อยละ
                       49.85 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 110,471ไร่ หรือร้อยละ
                       46.24 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 5,782 ไร่ หรือร้อยละ 2.42
                       ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 2,356 ไร่ หรือร้อยละ 0.99 ของพื้นที่เขตพัฒนา
                       ที่ดิน พื้นที่น้ า มีเนื้อที่ 1,225 ไร่ หรือร้อยละ 0.50 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน ตามล าดับ

                                  เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าห้วยน้ าแหง จังหวัดน่าน มีพื้นที่ชลประทาน 5,173 ไร่ หรือร้อยละ
                       2.17 ของเขตพัฒนาที่ดิน พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องใช้น้ า
                       มากเพื่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะพื้นที่ท านาข้าว แต่ในเขตพัฒนาที่ดินยังมีพื้นที่แหล่งน้ าอยู่ค่อนข้าง

                       น้อย ซึ่งอาจท าให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ าได้
                               ด้านศักยภาพของดิน ดินในพื้นที่ลุ่มเหมาะสมดีส าหรับปลูกข้าว ส่วนดินในพื้นที่ดอนพื้นที่
                       ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสมส าหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น โดยมีข้อจ ากัดรุนแรงมากเรื่องสภาพพื้นที่
                       เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 175,560 ไร่ หรือร้อยละ 73.5 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน ซึ่งยากต่อ

                       การจัดการดูแลรักษาเพื่อการเกษตร เสี่ยงต่อการชะล้างพังทะลายของดิน ส่วนปัญหาของทรัพยากร
                       ดินที่พบ ได้แก่ ปัญหาดินตื้นถึงชั้นหินพื้น ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าที่ดอน ปัญหาพื้นที่มีความ
                       ลาดชันเชิงซ้อนและปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
                               จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้ สามารถก าหนดพื้นที่ด าเนินการบ้านใหม่มงคล หมู่ที่ 2 ต าบลบัวใหญ่

                       อ าเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านการเกษตร
                       ครอบคลุมสภาพปัญหาทุกปัญหาในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าห้วยน้ าแหง ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ
                       ลักษณะและสมบัติของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนสภาพปัญหาต่างๆ ในการใช้ที่ดิน
                       นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ตัวแทนการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อป้องกันการชะล้าง

                       พังทลายของดิน การปรับปรุงบ ารุงดินและฟื้นฟูสภาพดินเสื่อมโทรม การแก้ไขดินที่มีปัญหา รวมทั้ง
                       การบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของกรมพัฒนาที่ดิน
                               สภาพพื้นที่ของพื้นที่ด าเนินการ บ้านใหม่มงคล หมู่ที่ 2 ต าบลบัวใหญ่ อ าเภอนาน้อย
                       จังหวัดน่าน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงชัน มีความลาดชัน 35-50 เปอร์เซ็นต์ อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง

                       ประมาณ 376-578 เมตร
   1   2   3   4   5   6   7   8