Page 126 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยน้ำเทิน ลำดับที่ พล.2(2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (รหัส 0914) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำน่าน (รหัส 09) พื้นที่ดำเนินการบ้านนาจาน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
P. 126

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        95



                             7.2.3 สภาพการใช้ที่ดิน
                                      ผลการศึกษาข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าห้วยน้้าเทิน

                  จังหวัดพิษณุโลก จากแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน มาตราส่วน 1 : 25,000 ของส้านักส้ารวจและวางแผนการใช้
                  ที่ดิน (2555) พบว่า การใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 14,446  ไร่ หรือร้อยละ 55.0491

                  ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่รวม 7,654  ไร่ หรือร้อยละ 29.1670 ของพื้นที่

                  เขตพัฒนาที่ดิน พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่รวม 2,287 ไร่ หรือร้อยละ 8.7151 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน พื้นที่
                  ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่รวม  1,640 ไร่ หรือร้อยละ 6.2495 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน และพื้นที่น้้า

                  มีเนื้อที่รวม 215 ไร่ หรือร้อยละ 0.8193 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 7 และภาพที่ 21)

                             7.2.4  ธรณีวิทยา
                                      ธรณีวิทยาในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าห้วยน้้าเทิน จังหวัดพิษณุโลก (กรมทรัพยากร

                  ธรณี, 2550) แสดงไว้ในภาพที่ 22 โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                      ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period) เป็นยุคที่ 2 ของมหายุคซีโนโซอิก มีช่วงอายุ

                  ประมาณ 1.6  ล้านปีมาแล้ว แบ่งออกได้เป็น 2  สมัย คือสมัยไพลสโตซีนกับสมัยโฮโลซีน  ยุคนี้ได้ประมวล
                  เหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนบนผิวโลก  นับตั้งแต่สิ้นยุคเทอร์เซียรีเรื่อยมาจนถึง

                  ปัจจุบัน ตะกอนที่เกิดในยุคนี้บริเวณพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าห้วยน้้าเทิน ได้แก่

                                      Qt : ตะกอนธารน้้าพา กรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวสะสมตัวตามร่องน้้า คัน
                  ดินแม่น้้า และแอ่งน้้าท่วมถึง

                                      ยุคครีเทเซียส (Cretaceous Period) อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจาก

                  ยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปี
                  ก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุด

                  ของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก  หินที่เกิดในยุคนี้บริเวณพื้นที่เขต
                  พัฒนาที่ดินลุ่มน้้าห้วยน้้าเทิน ได้แก่

                                      Kkk : หินตะกอนและหินชั้น มีลักษณะเป็นหินทรายแป้งสีแดง สีน้้าตาลแกมแดง สลับ
                  ด้วยหินทรายสีแดงแกมเทา น้้าตาลแกมแดง และหินกรวดมน มีวัตถุประสานเป็นพวกแคลเซียมคาร์บอเนตมี

                  เศษเม็ดปูนปนอยู่ด้วย
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131